posttoday

ทำความรู้จัก ผู้จัดการ ธนาคาร ธ.ก.ส. คนที่ 14

08 กุมภาพันธ์ 2566

เปิดประวัติ “ฉัตรชัย” ดำรงตำแหน่ง “ผู้จัดการ ธ.ก.ส.” คนใหม่ หลังจากกระทรวงการคลัง ประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีผลวันที่ 26 มี.ค. 66 ถือเป็นบุคคลภายนอกคนแรกที่มาจากบุคคลภายนอกองค์กร

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. มีคำสั่งแต่งตั้ง นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หลังผ่านกระบวนการสรรหาผู้จัดการ ธ.ก.ส. คนใหม่ แทนนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. คนปัจจุบัน ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งนายฉัตรชัยจะเป็นผู้จัดการ ธ.ก.ส. คนที่ 14 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

 

ประวัติ
นายฉัตรชัย เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ปัจจุบันอายุ 52 ปี
 

 

การศึกษา
- ปริญญาตรี (สถิติศาสตรบัณฑิต)                  คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

-ปริญญาโท (Master of Computer Science) จาก Syracuse University, New York, USA (นักเรียนทุนธนาคารอาคารสงเคราะห์ รุ่นที่ 1) 

 

ประวัติการทำงาน
เริ่มดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ธอส. ตั้งแต่ปี 2551 - 2555 ในตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 

 

ปี 2555 - 2559 ดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานสินเชื่อ ธอส. และขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในปี 2559 - ปัจจุบัน 

 

ซึ่งผลงานที่โดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ด้าน IT โดยผลักดันโครงการพัฒนาระบบงานหลัก GHB System ขึ้นใช้งานทดแทน Core Banking ระบบเดิมที่ใช้งานมานานกว่า 10 ปี ได้สำเร็จตามกำหนด และสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร บริหารจัดการ พัฒนาทรัพยากรบุคคล จนทำให้ ธอส. มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ และได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจ    ยอดเยี่ยม รางวัลผู้นำองค์กรดีเด่น รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และรางวัลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสใน การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) คะแนนประเมินสูงสุดอันดับ 1 ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจต่อเนื่อง 6 ปี ซ้อน (พ.ศ. 2560 - 2565)
 

 

นอกจากนี้ นายฉัตรชัย เป็นผู้บริหารธนาคารที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ได้เข้ามาบริหารงานใน ธอส. และยังได้รับตำแหน่ง "นักการเงินแห่งปี 2564" ด้วยคุณสมบัติของการเป็นนักการเงินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 4 ด้าน  คือ

 

1.เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย

       

2.เป็นนักการเงินมืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ      

 

3.เป็นนักการเงินที่สร้างความเจริญเติบโตและยั่งยืนให้กับองค์กร

       

4.เป็นนักการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม