posttoday

"TDRI" คาดปี 66 "เฟด" ตรึงดอกเบี้ย 5-5.2 %

02 กุมภาพันธ์ 2566

"TDRT" คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก1-2 ครั้ง และจะตรึงยาวไว้ที่ 5-5.2% ถึงปลายปีนี้ จนกว่าเงินเฟ้อลงมาแตะกรอบเป้าหมาย 2% ทำให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาวะ Soft Recession ขณะที่ธปท.จะขึ้นดอกเบี้ยรวมอีก 0.75% ในปีนี้ หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวสวนทางโลก รับดอกเบี้ยสูงกระทบกลุ่มเปราะบาง

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนยโยบาย หลังคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75 ต่อปีว่า  ในปีนี้ เฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง โดยตลาดคาดว่า เฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย ไว้ที่ระดับ 5-5.25% แปลได้ว่า การประชุมในรอบหน้าเดือน มี.ค.66 เฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งแน่นอน จากนั้นในเดือนพ.ค.ยังคงต้องติดตามว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย หรือไม่ขึ้นก็ได้

 

เนื่องจาก ขณะนี้เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดการทั้งปี เงินเฟ้อลดลงเหลือ 4% แต่ยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่ 2% 

 

ซึ่งจากการส่งสัญณาณของเฟดว่า ชี้ให้เห็นว่า เฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับบน คือ จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5-5.2% อย่างน้อยจนถึงปลายปี 66 นี้ ซึ่งความยาวนานในลักษณะนี้ ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถูกแตะเบรกด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงไปจนถึงปลายปี จนกระทั่งเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ 2% หรือ มีทิศทางลดลงไปแตะ 2% ดังนั้น เศรษฐกิจโลกจะถูกแตะเบรกด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาวะถดถอย( Soft Recession) แต่จะหดตัวไม่รุนแรงมาก ในขณะความพยามที่จะควบคุมเงินเฟ้อหวังก็จะลดลง

 

ส่วนทิศทางดอกเบี้ยของไทย นั้น คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะขึ้นอีก 0.75% หรือ ขึ้นครั้งละ 0.25% ในรอบประชุม 2-3 ครั้งในปีนี้ 

 

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า หลังจากที่จีนเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ เศรษฐกิจไทยเพิ่งฟื้นหลังปี 2019 จึงไม่แปลกใจว่า ทำไม่ธปท.ถึงเพิ่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้อย่างจริงจัง เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจึงแตกต่างจากโลก คือ เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจโลกกลับอยู่ในช่วงชะลอตัวลง 

 

สำหรับ ความกังวลในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย ต่อหนี้ภาระหนี้ครัวเรือนนั้น ต้องยอมรับว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวจากโควิด แต่หลายภาคส่วนยังมีปัญหาหนี้ตามมา ไม่ว่าจะเป็น หนี้ครัวเรือน หนี้ SMEs ที่มันยังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ ฉะนั้นถ้าการแตะเบรกเพื่อชะลอเศรษฐกิจ มันจะมีผลกระทบบางต่อดอกเบี้ยการกู้ยืม โดยปีนี้ถือว่า เป็นปีที่ต้องมีการปรับโครงสร้างนี้จำนวนมากหลังฟื้นจากปัญหาโควิด แต่มองว่าจะกระทบกับกลุ่มหนี้ใหม่ มากกว่าหนี้เดิม หรือหนี้ที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนั้น มองว่า ภาคการเงินของไทยที่อยู่ในฐานะเข้มแข็ง ทำให้ช่วงหลังค่าเงินบาทเริ่มกลับมาสู่จุดที่ควรจะเป็นแล้ว หลังจากที่ค่าเงินบาทเคยอ่อนค่ามาก คือ ไปแตะอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตอนนี้กลับมาอยู่ที่ระดับกว่า 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จีดีพีก็น่าจะเติบโตดีกว่าคาด ดังนั้นการเตะเบรกของธปท. ได้เล็งเห็นแล้วว่า เศรษฐกิจมีความพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อให้มีนโยบายสำหรับรองรับวิกฤตในอนาคต จึงเชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงไม่มีปัญหาในภาพรวม