posttoday

เปิดความหมาย “เทคคอมปานี” หลังทรู-ดีแทค รวมกันเป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น

22 มกราคม 2566

พร้อมพาย้อนอดีตส่องทำเนียบซีอีโอ ดีแทค และบอร์ดบริหารชุดใหม่หลังควบรวม ที่คาดว่าจะเสร็จภายในไตรมาสแรกปีนี้

คำถามแรกที่สังคมตั้งคำถาม หลัง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา ในการเปลี่ยนชื่อบริษัท เป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และคาดว่าจะควบรวมเสร็จภายในไตรมาสแรกปีนี้ คือ พนักงานดีแทค จะได้รับผลกระทบหรือไม่

 

หากดูตามมาตรการเงื่อนไขการควบรวมของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุชัดเจนว่า ทั้ง แบรนด์ ทรู และ แบรนด์ดีแทค ต้องแยกกันทำตลาด อย่างชัดเจน ใน 3 ปี ดังนั้นพนักงานต้องแยกทำงานตามภาระหน้าที่ของบริษัทเดิม จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าอย่างน้อยภายใน 3 ปี พนักงานจะไม่ได้รับผลกระทบ ยกเว้นหากมีความท้าทายใหม่เข้ามาจนไม่สามารถเดินต่อไปได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

 

ย้อนดูรายชื่อซีอีโอดีแทค

 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีแทค มีการเปลี่ยนแปลงขององค์กรตลอดเวลา หลังจากที่กลุ่มเทเลนอร์ซื้อกิจการจาก บุญชัย เบญจรงคกุล และมีซีอีโอ ซิคเว่ เบรคเก้ เข้ามานั่งซีอีโอ จากนั้น ดีแทค ก็มีการเปลี่ยนซีอีโอ เรื่อยมา

 

เปิดความหมาย “เทคคอมปานี” หลังทรู-ดีแทค รวมกันเป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น

 

ทำเนียบผู้บริหาร “ทรู คอร์ป” ใหม่

 

หลังการควบรวมกิจการเสร็จ ผู้ที่จะมานั่ง ซีอีโอ คือ คนจากฝั่งทรู  มนัสส์ มานะวุฒิเวช ลูกหม้อของทรูฯ ขณะที่ ซารัด เมห์โรทรา เป็นรองซีอีโอ

 

เปิดความหมาย “เทคคอมปานี” หลังทรู-ดีแทค รวมกันเป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น
 

 

บอร์ดบริษัทใหม่ตามหุ้น 30%

 

ขณะที่คณะกรรมการบริษัทมีการคัดเลือกจากทั้ง 2 บริษัท ทั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มเทเลนอร์ กำหนดสัดส่วนการถือหุ้น 30% อย่างเท่าเทียมในบริษัทใหม่

 

เปิดความหมาย “เทคคอมปานี” หลังทรู-ดีแทค รวมกันเป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น

 

เปิดความหมาย 'เทค คอมปานี'

 

ทรูฯ ระบุว่า สิ่งที่มาพร้อมกับการรวมธุรกิจ ไม่ใช่มีเพียงแค่การเกิดขึ้นของบริษัทใหม่เท่านั้น แต่เป็นการนำความฝันในยุคดิจิทัลมาทำให้เป็นจริง เพื่อนำศักยภาพที่แข็งแกร่งมารวมกันและสร้างสิ่งที่ดียิ่งกว่าเดิม

 

สิ่งที่ลูกค้าทรู จะได้รับทันทีหลังการรวมธุรกิจ คือ เครือข่ายคุณภาพที่กว้างขึ้น เชื่อมโยงครบทุกคลื่นความถี่ ครอบคลุมยิ่งขึ้นกว่าเดิม จากการที่บริษัทใหม่นี้จะก้าวเป็นผู้ให้บริการซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารที่ดีที่สุด สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ชีวิตดิจิทัลที่กำลังขยายตัวไปสู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงโอกาสการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ ลูกค้าทรูซึ่งปัจจุบันมีสิทธิพิเศษจากบริการที่หลากหลายของกลุ่มทรู ทั้งทรูมูฟ เอช ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ทรูไอดี ทรูมันนี่ ทรูดิจิทัล ทรูคอฟฟี่ รวมทั้งทรูยูแล้ว ยังจะได้รับสิทธิพิเศษที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะจากการรวมธุรกิจจะเป็นการรวมพันธมิตรรายใหม่เพิ่มเติมยิ่งขึ้น

 

ลูกค้าทรู ยังจะมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาบริการที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จากการนำเทคโนโลยี และประสบการณ์ ด้านการบริการในธุรกิจโทรคมนาคมจากทั่วโลกทั้งจากผู้ร่วมทุนและพันธมิตรรายใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทใหม่ในการพัฒนาขีดความสามารถให้หลากหลายครอบคลุมไลฟ์สไตล์ดิจิทัลของลูกค้าครบในทุกมิติ

 

การก้าวสู่ความเป็นเทคคอมปานีของบริษัทใหม่นี้  ยังเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบดิจิทัล ทั้งการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ครบวงจร เพื่อเชื่อมต่อคน ธุรกิจ สังคม และเศรษฐกิจ ผ่าน IoT, Cloud และหลากหลายเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Open Source

 

รวมทั้งการพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจหลักในทุกภาคอุตสาหกรรมผ่านเทคโนโลยียุคใหม่ และโครงข่าย 5G เช่น การศึกษา เกษตรกรรม การแพทย์ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมต่างๆ  ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) ระดับโลกเข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทั้งกลุ่มธุรกิจ ลูกค้าผู้บริโภค และประชาชนชาวไทย ต่างได้รับประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของบริษัทใหม่

 

ขณะเดียวกัน การรวมธุรกิจครั้งนี้ จะเพิ่มโอกาสนำเทคโนโลยีดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างประโยชน์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกัน รวมถึงการเกิดขึ้นของศูนย์นวัตกรรมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลก

 

ทำให้เกิดการจัดตั้งกองทุนวงเงินกว่า 7,300 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัปไทยที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จพร้อมแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลก ตลอดจนเป็นช่องทางให้เข้าถึงคลังข้อมูลบนแพลตฟอร์มแห่งโอกาสที่ครอบคลุมประชากรกว่า 99% ในประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ที่มีการประกาศถึงความชัดเจนในการควบรวม ทั้งทรู และ ดีแทค ต่างออกโปรโมชัน เพิ่มลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด โดยทรู ออกแคมเปญเชิญชวนลูกค้าใหม่หรือย้ายค่ายด้วยการนำเสนอสิทธิพิเศษที่จะได้รับจากบริษัทในเครือ ขณะที่ ดีแทค มีการนำเสนอโปรลับแก่ลูกค้าเดิม ในการเสนอเลขหมายเสริม เพียงสมัคร 499 บาท สามารถโทรฟรีหาเบอร์เดิมที่มีอยู่ระหว่างกัน รวมถึงอินเทอร์เน็ตฟรี ตลอดระยะเวลา 1 ปี ต้องรอดูต่อไปว่า แรงกระเพื่อมของการควบรวมจะทำให้ลูกค้าอ่อนไหวไปทางใด