posttoday

ครม. ไฟเขียวลดภาษีน้ำมันดีเซลลง 5 บาท/ลิตร อีก 4 เดือน

17 มกราคม 2566

ครม.เห็นชอบขยายเวลาปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก 4 เดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนและภาคธุรกิจ ทำให้สูญเสียรายได้ 4 หมื่นล้านบาท ยันไม่กระทบฐานะการคลัง

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (17 ม.ค. 66) มีมติเห็นชอบขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก 4 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 21 ม.ค.66 จนถึงวันที่ 20 พ.ค.66 มาตรการทางภาษีครั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และเพื่อไม่ให้ราคาสินค้าปรับขึ้นราคา  เนื่องจากน้ำมันดีเซล และไฟฟ้าเป็นต้นทุนการผลิตและการขนส่งของทุกภาคอุตสาหกรรมอย่างไรก็ตาม ระยะยาวต้องติดตามทิศทางราคาน้ำมันโลก หากราคาน้ำมันโลกปรับลดลงก็พิจารณาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงอีก ทั้งนี้ การต่ออายุมาตรการออกไปอีก 4 เดือนจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้เดือนละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท รวม 4 เดือน เสียรายได้ราว 4 หมื่นล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะปรับลดลภาษีน้ำมันลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ยังมั่นใจว่า สถานะการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง เนื่องจากคลังได้รับเงินนำส่งกำไร และทุนหมุนเวียนจากรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมถึงรายได้จาก จากค่าสัมปทาน จากการประมูลคลื่นโทรศัพท์มือถือ  และคลื่นความถี่วิทยุ รวมทั้งรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้า หลังจากที่ศาลฏีกาแผนกคดีภาษี ตัดสินให้บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แพ้คดีสรรพากร ที่การนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จพร้อมประกอบไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี จำนวนกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ตั้งต้นปีงบประมาณ 2566 การจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลัง สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีได้เกินกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ปีงบประมาณ 2566 กระทรวงคลังมั่นใจว่า จะเก็บรายได้เข้ารัฐได้ราว 2.6 ล้านล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.4 ล้านล้านบาท ทำให้รวมทั้งสิ้นปีงบประมาณ 2566 จะมีเงินคงคลังเหลือประมาณ 7.1 แสนล้านบาท ส่งผลให้สถานะเงินคงคลังมีความเข้มแข็ง และไม่กระทบเงินคงคลังของประเทศ
 

 

นายสันติ กล่าวต่อว่า แม้ภาครัฐจะปรับลดลภาษีน้ำมันลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ยังมั่นใจว่าสถานะการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง เนื่องจากคลังได้รับเงินนำส่งกำไร และทุนหมุนเวียนจากรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมถึงรายได้จาก จากค่าสัมปทาน จากการประมูลคลื่นโทรศัพท์มือถือ  และคลื่นความถี่วิทยุ รวมทั้งรายได้จากการจัดเก็บภาษีนำเข้า หลังจากที่ศาลฏีกาแผนกคดีภาษี ตัดสินให้บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แพ้คดีสรรพากร ที่การนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จพร้อมประกอบไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี จำนวนกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ตั้งต้นปีงบประมาณ 2566 การจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลัง สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีได้เกินกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ปีงบประมาณ 2566 กระทรวงคลังมั่นใจว่าจะเก็บรายได้เข้ารัฐได้ราว 2.6 ล้านล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่ 2.4 ล้านล้านบาท ทำให้รวมทั้งสิ้นปีงบประมาณ 2566 จะมีเงินคงคลังเหลือประมาณ 7.1 แสนล้านบาท ทำให้สถานะเงินคงคลังมีความเข้มแข็ง และไม่กระทบเงินคงคลังของประเทศ