posttoday

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปีใหม่เงินสะพัด 30,900 ล้านบาท

23 ธันวาคม 2565

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้คนกรุงเทพฯ กลับมาท่องเที่ยว และฉลองเทศกาลปีใหม่ 2566 หลังสถานกาณ์โควิดผ่อนคลาย คาดมีเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ 30,900 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เม็ดเงินการใช้จ่ายรวมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 จะอยู่ที่ประมาณ 30,900 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาทำกิจกรรม และเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นจากช่วงปีใหม่ปีที่แล้ว ซึ่งมีการระบาดของโควิด สายพันธ์ โอมิครอน ประกอบกับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากมาตรการช้อปดีมีคืน ที่อาจช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางถึงสูง ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 

 

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะจัดสรรงบประมาณเฉพาะเพื่อการเฉลิมฉลองในช่วงเวลาจำกัด 4 วัน ของวันหยุดปีใหม่ (30 ธันวาคม 2565 ถึง 2 มกราคม 2566) และกลับมาวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมหลังช่วงเทศกาล เนื่องจากยังมีความกังวลด้านค่าใช้จ่าย และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูงส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ประกอบกับธุรกิจยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นนอกจากการส่งเสริมการขายช่วงเทศกาลแล้ว ผู้ประกอบการยังมีความท้าทายในการจัดการต้นทุน และตอบโจทย์ของผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพสินค้าและประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขาย โดยเฉพาะการใช้จ่ายจากกลุ่มลูกค้าที่ยังมีกำลังซื้อเพียงพอ
 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เม็ดเงินการใช้จ่ายรวมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 จะอยู่ที่ประมาณ 30,900 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาทำกิจกรรมและเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นจากช่วงปีใหม่ปีที่แล้วซึ่งมีการระบาดของโอมิครอน ประกอบกับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากมาตรการช้อปดีมีคืนที่อาจช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลางถึงสูงที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะจัดสรรงบประมาณเฉพาะเพื่อการเฉลิมฉลองในช่วงเวลาจำกัด 4 วัน ของวันหยุดปีใหม่ (30 ธันวาคม 2565 ถึง 2 มกราคม 2566) และกลับมาวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมหลังช่วงเทศกาล เนื่องจากยังมีความกังวลด้านค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูงส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ประกอบกับธุรกิจยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นนอกจากการส่งเสริมการขายช่วงเทศกาลแล้ว ผู้ประกอบการยังมีความท้าทายในการจัดการต้นทุน และตอบโจทย์ของผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพสินค้าและประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขาย โดยเฉพาะการใช้จ่ายจากกลุ่มลูกค้าที่ยังมีกำลังซื้อเพียงพอ