posttoday

เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง

05 มกราคม 2563

ผู้ออมเงินที่เป็นสมาชิกประกันสังคนหรือเรียกอีกอย่างว่า "ผู้ประกันตน" ยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่า “กองทุนชราภาพ”

ผู้ออมเงินที่เป็นสมาชิกประกันสังคม หรือเรียกอีกอย่างว่า "ผู้ประกันตน" ยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่า “กองทุนชราภาพ”

.................................................................................

โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนมักนิยมออมเพื่อการเกษียณผ่านลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีปัจจุบันและมีเงินใช้ในอนาคตเมื่อแก่เฒ่าไปพร้อมกัน

อันที่จริงแล้ว ผู้ออมเงินที่เป็นสมาชิกประกันสังคมหรือเรียกอีกอย่างว่า "ผู้ประกันตน" ยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่ท่านอาจมีแต่ยังไม่รู้ตัว ที่เรียกกันว่า “กองทุนชราภาพ”

ทั้งนี้ กองทุนชราภาพ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าประกันสังคมที่จะหัก 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท เพื่อความเข้าใจที่ครบถ้วน เรามาควรมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เงินประกันสังคมที่เราจ่ายกันทุกเดือนๆ นี้ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง

เงินประกันสังคมถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง ที่มา บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร


ผู้ที่นำส่งเงินประกันสังคมต่อเนื่อง จะได้รับเงินกองทุนชราภาพโดยรูปแบบและจำนวนที่ได้รับหลังเกษียณจะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง ที่มา บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร

รูปแบบของเงินกองทุนชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับขึ้นอยู่กับอายุงาน ถ้าอายุงานมากกว่า 15 ปี (180 เดือน) จะได้รับเป็นเงินบำนาญ (ทยอยรับทุกเดือนตลอดชีวิต) แต่ถ้าอายุงานน้อยกว่า 15 ปี จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ (รับเป็นก้อนครั้งเดียว)

จำนวนเงิน ในกรณีที่ได้รับ “เงินบำเหน็จ” โดยผู้ประกันตนส่งเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนคืนไปเท่านั้น แต่ถ้าสมทบครบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เงินทั้งหมด 3 ส่วน คือ เงินสมทบของผู้ประกันตน เงินสมทบของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทน

ในกรณีที่ได้รับ “เงินบำนาญ” โดยสมทบครบ 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี จะได้รับอัตราเงินบำนาญที่ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนล่าสุด สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่ถ้าสมทบเกินกว่า 20 ปีเป็นต้นไปจะได้รับอัตราเงินบำนาญเพิ่มโดยนับจากปีส่วนเกิน ปีละ 1.5%

 

บทความจากบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร