posttoday

อุตฯสื่อน่าเป็นห่วง!! ปิดงบโฆษณาประเทศไทยปี 62 ตลาดไม่โต เม็ดเงินแตะ 8.9 หมื่นล้านบาท

17 ธันวาคม 2562

MI เผย 5 กลุ่มครองแชมป์ใช้งบฯดุใน 11 เดือนแรกปีนี้ ภาครัฐ- เครื่องดื่ม-รถยนต์เชิงพาณิชย์-ยาสีฟัน และ รถยนต์ ส่วนปีหน้าตลาดโฆษณาไม่ต้องห่วงไร้ปัจจัยบวกเสริม ยังทรงตัวเหมือนเดิม

MI เผย 5 กลุ่มครองแชมป์ใช้งบฯดุใน 11 เดือนแรกปีนี้ ภาครัฐ- เครื่องดื่ม-รถยนต์เชิงพาณิชย์-ยาสีฟัน และ รถยนต์ ส่วนปีหน้าตลาดโฆษณาไม่ต้องห่วงไร้ปัจจัยบวกเสริม ยังทรงตัวเหมือนเดิม

อุตฯสื่อน่าเป็นห่วง!! ปิดงบโฆษณาประเทศไทยปี 62 ตลาดไม่โต เม็ดเงินแตะ 8.9 หมื่นล้านบาท ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI ผู้ให้บริการซื้อ–ขาย สื่อโฆษณา และวางกลยุทธ์ทางการตลาด เปิดเผยภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในตลาดปี 2562 คาดการณ์อยู่ที่ 89,213 ล้านบาท เติบโตอัตรา 0.13% หรือประเมินว่าเป็นการเติบโตแบบทรงตัว เมื่อเทียบกับปี 2561

โดยในเดือน ธ.ค.ปีนี้ ตลาดการใช้สื่อโฆษณาได้รับปัจจัยบวกจาก ตลาดในอุตสาหกรรมรถยนต์หลายค่าย ได้เปิดตัวรถยนต์โฉมใหม่ทั้ง เมเจอร์ เชนจ์ และไมเนอร์ เชนจ์ โดยมีการจองซื้อขายรถยนต์รุ่นใหม่จำนวนมากขึ้น จากในงานมอเตอร์ โชว์ เอ็กซโป 2019 ที่ผ่านมา

ปัจจัยที่สอง ตลาดแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จากผู้ให้บริการแพล็ลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลส ต่างทำกิจกรรมการตลาดเชิงรุกผ่านแคมเปญใหญ่ประจำเดือน โดยเฉพาะ ลาซาด้า (Lazada) ใช้งบการทำตลาดแคมเปญ 12.12 ล่วงหน้า 10-15 วัน

นอกจากนี้ จากการปิดตัวของ ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง (ไบร์ททีวี 20, วอยซ์ทีวี21, MCOT family, ช่อง 13 Family, ช่อง 28 '3SD', สปริงนิวส์ 19 และ สปริง26 ของกลุ่มเนชั่นฯ) อย่างเป็นทางการในเดือน ก.ย.-ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เม็ดเงินโฆษณามูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ที่กระจายอยู่ใน 7 ช่องทีวีดังกล่าว หายไปด้วย และยังไม่สามารถติดตามได้ว่าม็ดเงินดังกล่าว ถูกนำไปใช้ผ่านในสื่อช่องทางใด

สำหรับทีวีดิจิทัลอีก 6 ช่องที่เหลือคาดว่าอาจจะเหนื่อยมากขึ้น ในการทำบริหารคอนทนต์เพื่อทำตลาดในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้ โดยสื่อทีวี จะหันมามาใข้กลยุทธ์การรีรันรายการละครมากขึ้น เพื่อประคองต้นทุนการดำเนินการของตัว้อง

"อีก 15 ช่องทีวีที่้หลือหากไม่มีกฎหมายพิเศษมารองรับ ในปีหน้าก็ยังต้องลุ้นต่อไปว่าจะรายใดหายไปจากตลาดสื่ออีกหรือไม่ โดยในช่วงที่ผ่านมา ทีวีหลายช่องใช้กลยุทธ์คอลลาบอเรชั่นเพื่อความอยู่รอด" นายภวัต กล่าว

สำหรับ 5 หมวดแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 ประกอบด้วยรัฐบาล 2,400 ล้านบาท เครื่องดื่ม 2,200 ล้านบาท รถยนต์เชิงพาณิชย์ 2,200 ล้านบาท ยาสีฟัน 1,800 ล้านบาท และ รถยนต์ 1,600 ล้านบาท

ส่วนผู้ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องดื่มโค้ก 1,072 ล้านบาท สำนักนายกฯ 850 ล้านบาท ออมสิน 850 ล้านบาท น้ำยาปรับผ้านุ่มดาวน์นี่ 771 ล้านบาท และเครื่องดื่มเป๊ปซี่ 686 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ 3 อันดับแรกที่ยังมีการใช้จ่ายโฆษณาเพิ่มขึ้น คือ น้ำอัดลม ยาสีฟันสมุนไพร วิตามินเพื่อสุขภาพ และกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้งบโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จาก 500 ล้านบาท เหลือ 100 ล้านบาท

แต่อย่างไรก็ดีต้องจับตาในช่วงเดือนธ.ค.นี้ เนื่องจากมีการเปิดตัวบัตรเดบิตแบล็คพิ้งค์กสิกรไทย ถัดมาเป็นคิงส์พาเวอร์ เดิมใช้งบโฆษณา 417 ล้านบาท เหลือ 113 ล้านบาท กะทะโคเรียคิง เดิมใช้งบ 300 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาท ร้านสะดวกซื้อ 7-11 เดิมใช้งบ 380 ล้านบาท เหลือ 116 ล้านบาท และน้ำแร่ช้างจาก 600 ล้านบาท เหลือ 300 ล้านบาท

นายภวัต กล่าวว่าจากสถานกาารณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า อาจได้เห็นอัตราค่าโฆษณา(เรท การ์ด) ในสื่อต่างๆ มีการแข่งขันจากการปรับลดราคาโปรโมชันมากขึ้น อาทิ กลุ่มเทียร์ 1 ช่อง 3, 7, เวิร์ค พ้อยท์, โมโน29 ช่องวัน, ไทยรัฐทีวี, อมรินทร์ ทีวี อาจมีการปรับส่วนลด(ดิสเคานท์)ราคาต่อรองในระดับ 10-15% ส่วนกลุ่ม เทียร์ 2 ช่อง 9, เนชั่น ทีวี อาจปรับราคาลดลงมาอีก 30-50%

นายภวัต กล่าวว่าสำหรับงบการทำตลาดโฆษณาในปี 2563 มูลค่ากว่า 8.9 หมื่นล้านบาท บริษัทประเมินว่าจะมีอัตราการเดิบโตติดลบ ด้่วยไม่มีปัจจัยบวกใดๆเข้ามาสนับสนุน รวมถึงอุตสาหกรรมสื่อในภาพรวมได้รับผลประทบจากเทคโนโลยี ดิสรัปชัน ทั้งสื่อโทรทัศน์ และ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่จะถดภอยลงไปอีก

อย่างไรก็ตาม กลุ่มสื่อทีวี จะยังมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุด สัดส่วน 48% สื่อออนไลน์ แพล็ตฟอร์มต่างๆ อินเทอร์เน็ต และ ดิจิทัล สัดส่วน 27% สื่อนอกบ้าน สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ สัดส่วนราว 13% 6.3% และที่เหลือ 12% กระจายอยู่ในสื่อประเภทต่างๆ อาทิ สื่อ ณ จุดขาย สื่อนิตยสาร วิทยุ ฯลฯ

"พฤติกรรมการรับชมสื่อทีวีของผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ระยะเวลาการรับชมทีวีลดลงอยู่ที่ 2 ชั่วโมงต่อวัน จากเดิม 4-5 ชั่วโมงต่อวัน แต่จะใข้เวลาในการเข้าอินทอร์เน็ตมากขึ้นต่อเนื่องเป็น 7 ชั่วโมงต่อวัน ขยับขึ้นจากในอดีตวันละ 3, 4, 5 และ 6 ชั่วโมงต่อวัน" นายภวัต กล่าว