posttoday

ภาคธุรกิจปรับตัว รับไทยแลนด์ 4.0

17 พฤษภาคม 2560

เรื่องของเทคโนโลยีกับการปรับตัวขององค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ ถือว่ามีการตื่นตัวมาก กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดต้นทุน แต่ก็ยังมีบางธุรกิจที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

โดย...ณัฏฐ์ธยาน์ สุทธิเจริญ

เรื่องของเทคโนโลยีกับการปรับตัวขององค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ ถือว่ามีการตื่นตัวมาก กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดต้นทุน แต่ก็ยังมีบางธุรกิจที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

วินิจ ศิลามงคล ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมา ลาว กล่าวว่า การเปิดรับและปรับใช้เทคโนโลยี ใหม่ๆ เข้ากับองค์กรไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยเปลี่ยนเพียงไม่กี่อย่าง แต่ต้องสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กร รวมทั้งปรับใช้เข้ากับกลยุทธ์และการ บริหารองค์กรได้อย่างคุ้มค่า

ทั้งนี้ การใช้คลาวด์ ซอฟต์แวร์ และไอโอที เป็นเทรนด์เทคโนโลยี อันดับต้นๆ ที่มีการนำมาปรับใช้มากในรอบปีที่ผ่านมา และด้วยจำนวนข้อมูลที่มีอย่างมหาศาลทำให้ความปลอดภัยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ภาคธุรกิจยังกังวลมาก

อย่างไรก็ตาม การทรานส์ฟอร์มธุรกิจแบบดั้งเดิมให้มาเป็นดิจิทัล สำหรับองค์กรขนาดใหญ่อย่างสถาบันการเงิน โทรคมนาคม ได้เดินหน้ากันไปแล้ว เพราะเป็นธุรกิจที่ได้รับผล กระทบโดยตรง ถ้าไม่พร้อมปรับตัว จะเสียมูลค่าทางธุรกิจอย่างมหาศาล ส่งผลให้คู่ค้าระดับกลางและย่อม ต้องทรานส์ฟอร์มตามเพื่อประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศรีสุชา ลิ่มทอง กรรมการบริหาร ที่ปรึกษาธุรกิจ บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ กล่าวว่า เรื่องของการควบคุมต้นทุน ข้อกฎหมายด้านเทคโนโลยี และการปรับใช้กับองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย ก็เป็นอีก สิ่งหนึ่งที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจมาก กว่าเดิม

"เรื่องที่คนยังกังวลมาก คือ การนำระบบโรโบติกเข้ามาจะลดการจ้างงาน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเพราะโรโบติกไม่ได้หมายถึงแค่หุ่นยนต์ แต่เป็นระบบการสั่งงานที่ช่วยให้การทำงานแบบเดิมบางแผนก เช่น การเก็บข้อมูลหรือฝ่ายผลิต สามารถสั่งงานผ่านหุ่นยนต์ได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องจ้างแรงงานคนจำนวนมาก" ศรีสุชา กล่าว

การเปลี่ยนมาใช้งานเทคโนโลยีตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นอกจากเรื่องการใช้เทคโนโลยี คือ จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพของคนให้มากขึ้น เพราะปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ แต่หมายถึงการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานให้ได้ตามการ สั่งงาน ลดความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนลักษณะงานใหม่ เพิ่มคุณภาพทักษะของพนักงานให้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่ลด คนงานลงเพียงอย่างเดียว

โทชิยะ โมริ ประธานและ เจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าที่ปรึกษา เคพีเอ็มจี ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การ นำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่เคพี เอ็มจีมีความชำนาญและให้บริการ แก่ลูกค้าญี่ปุ่นมานาน มาปรับใช้กับฐานลูกค้าในไทยและซีแอลเอ็มวีจะช่วยลดต้นทุนในการลงทุนที่ซ้ำซ้อนและทำงานได้รวดเร็วขึ้น

เมื่อภาคธุรกิจปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี จะช่วยเพิ่มศักยภาพ และคุณภาพคนไทยขึ้นอีกระดับ คาดว่าไม่เกิน 5 ปี จะเป็นไปได้ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0