posttoday

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว

02 ธันวาคม 2560

จีนจะใช้ “รถไฟความเร็วสูง” เป็นตัวขับเคลื่อน เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ในทั่วทุกภูมิภาค

เรื่อง - ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

โลกกำลังสลับขั้วมาที่จีน ขณะที่ อเมริกาในยุค โดนัลด์ ทรัมป์ ขอเว้นวรรคกลับไปฟื้นฟูอเมริกันก่อน

ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ประกาศยุทธศาสตร์ One Belt One Road หรือเส้นทางสายไหม พาจีนยุคใหม่ก้าวสู่ระดับโลกฟื้นคืนความยิ่งใหญ่เหมือนดั่งอดีต ที่เคยเป็นศูนย์กลางของเส้นทางสายไหม โดยต้องการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่ง วัฒนธรรม และสังคมจากจีนสู่ทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป ที่ขณะนี้กำลังเดินหน้าในหลายประเทศ

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง “หลานโจว-ซินเจียง” 1,800 กม. ต้องวิ่งในทะเลทรายที่มีลมแรง

 

จีนจะใช้ “รถไฟความเร็วสูง” เป็นตัวขับเคลื่อน เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ในทั่วทุกภูมิภาค สอดรับกับประเทศไทยที่ปัจจุบัน กำลังคึกคักสร้างเครือข่ายรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่เชื่อมระบบคมนาคมขนคนให้รวดเร็ว ทันสมัย 

ใน กทม.และปริมณฑล นนทบุรี มีรถไฟฟ้าหลายสายที่จะเกิดขึ้นโยงเป็นใยแมงมุมภายใน 5 ปี ขณะที่เมืองใหญ่ในภูมิภาคก็จะสร้างรถไฟฟ้าอีกหลายจังหวัด และยังมีเส้นทางเชื่อมจากภาคต่างๆ มากรุงเทพฯ

เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 672 กิโลเมตร (กม.) ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน นำรถไฟชินคันเซนมาใช้ เริ่มสร้างได้ในปี 2562

อีกเส้น กรุงเทพฯ-หนองคาย 615 กม. ไทย-จีน ลงนามสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ตามยุทธศาสตร์ One Belt One Road เชื่อมจากฝั่งจีนที่คุนหมิง ผ่านลาว ไทย (หนองคาย-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์) ลงมาเลเซีย สิ้นสุดที่สิงคโปร์

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ภายในศูนย์ควบคุมรถไฟแห่งชาติ ที่กรุงปักกิ่ง

 

ล่าสุด ไทย-จีน ได้ข้อสรุปว่า โครงการนี้จะเริ่มตอกเสาเข็มแน่นอนในวันที่ 21 ธ.ค. 2560 เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 3.5 กม.ก่อน ระหว่าง สถานีกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของเฟสแรกเส้นกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งบลงทุน 1.7 แสนล้านบาท ที่จะทยอยสร้างให้เสร็จและเปิดใช้ปี 2564

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดตามสถานีต่างๆ ในประเทศจีน ถ่ายทอดมาที่ศูนย์ควบคุมรถไฟแห่งชาติ กรุงปักกิ่ง

 

ที่สุดรถไฟความเร็วสูงจีน ลุยทะเลทราย ผ่าภูเขา เข้าเมืองหนาว

เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีมานี้จนผงาดขึ้นอันดับหนึ่งของโลก

“รถไฟจีนมีจุดเด่น 1.เส้นทางรถไฟมีความยาวที่สุดในโลก ปีนี้จีนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2.5 หมื่นกิโลเมตร มากกว่า 60% ของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก 2.มีมาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีปลอดภัย นั่งสบาย ความเร็วสูง มีความถี่สูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3.แม้รถไฟในจีนมีหลายรุ่น แต่ทุกรุ่นก็สามารถวิ่งในเส้นทางต่างๆ ร่วมกันได้  4.ขนส่งผู้โดยสารได้มากที่สุดในโลก จาง ซีจื้อ หัวหน้าศูนย์ควบคุมใหญ่การรถไฟของจีน กล่าวกับคณะสื่อมวลชนไทย-ลาว ที่เดินทางมาเยี่ยมชมกิจการรถไฟในจีน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามคำเชิญของรัฐบาลจีน สานสัมพันธ์สามประเทศในการเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว สถานีรถไฟวู่ฮัน มณฑลหูเป่ย ภาคกลางของจีน สามารถเชื่อมต่อเดินทางไปเส้นทางต่างๆได้ทั่วประเทศ

 

จาง ซีจื้อ เล่าว่า ปลายปีนี้ความยาวของเส้นทางรถไฟจีนทุกประเภทที่ใช้ตั้งแต่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟธรรมดา รถไฟขนสินค้าอยู่ที่ 1.24 แสน กม. ยาวเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา แต่จีนมีเป้าหมายว่า ในปี 2563 จะสร้างให้ได้ระยะทาง 1.5 แสนกิโลเมตร สำหรับรถไฟความเร็วสูงของจีนมี 2,600 ขบวน รถไฟธรรมดาขนส่งผู้โดยสาร 7.1 หมื่นขบวน ขนส่งสินค้า 7 แสนขบวนรวม 9 ล้านตัน/วัน ในแต่ละวันจะมีรถไฟทุกประเภทออกจากสถานี 7,000 ขบวน ในจำนวนนี้เป็นรถไฟความเร็วสูง 5,600 ขบวน ระบบรถไฟทั้งหมดขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย 7 ล้านคน/วัน แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็น 8 ล้านคน โดยเฉพาะในวันชาติ 1 ต.ค. ทำสถิติขนส่งผู้โดยสารมากที่สุดถึง 15 ล้านคน

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ผู้โดยสารจำนวนมากรอที่สถานีรถไฟวู่ฮั่นซึ่งเป็นสถานีที่ได้รับรางวัลดีเด่นแห่งหนึ่งของจีน สำหรับวันชาติจีน จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการที่นี่มากถึง 3 แสนคนต่อวัน

 

หากย้อนประวัติศาสตร์การสร้างรถไฟในโลกแบ่งเป็น 3 ยุค

ยุคแรกปี 2507-2523 ญี่ปุ่นโดดเด่นสุดขยายเส้นทางได้ถึง 2,000 กม. ยุคที่สอง ปี 2533-2543 ยุโรปพัฒนาตามมาเข้าสู่ยุคปัจจุบันนับจากปี 2543 เป็นต้นมา จีนขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งอย่างมิต้องสงสัย

สำหรับจีนเอง ได้แบ่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูงออกเป็น 4 ช่วง ช่วงแรกปี 2532-2542 ใช้เวลา 10 ปีเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี ช่วงที่สองปี 2542-2551 เป็นขั้นตอนทดลองก่อสร้าง หลังจากได้ประสบการณ์ความเร็วจากการทดลองวิ่ง ช่วงที่สาม หลังปี 2551 จีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเปิดใช้เส้นทาง ปักกิ่งไปยังเทียนจินในปี 2551 ก่อนเปิดโอลิมปิกเกมส์ ความเร็วทดลองวิ่งขณะนั้นอยู่ที่ 486.1 กม./ชม. แต่วิ่งจริงส่งผู้โดยสารได้ 350 กม./ชม.

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ภายในรถไฟความเร็วสูงมีการติดเลขวัดความเร็วร่วม 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งจากปักกิ่งไปวู่ฮั่นระยะทาง 1,200 กิโลเมตรใช้เวลา 4 ชั่วโมง

 

จีนมีความสามารถสร้างโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงรองรับในหลายสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันสุดขั้ว โดยยกตัวอย่าง 4 เส้นทางในประเทศที่ถือเป็น “ที่สุด” ของรถไฟหัวกระสุนสัญชาติจีน

เส้นทาง “ฮาร์บิน-ต้าเหลียน” ระยะทาง 921 กม. ต้องวิ่งเมืองหนาวที่สุดถึง ลบ 40 องศา

เส้นทาง “หลานโจว-ซินเจียง” 1,800 กม. รถไฟความเร็วสูงสายแรกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือผ่านเขตปกครองตนเองซินเจียง ชนชาติอุยกูร์ และวิ่งต้องในทะเลทรายที่มีลมแรง

เส้นทาง “ปักกิ่ง-กว่างโจว” 2,298 กม. สายนี้ยาวที่สุดในโลก จีนประกาศเป็นเส้นทางที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดเส้นทางหนึ่งในโลก เฉพาะเส้นนี้ยาวพอๆ กับเส้นทางรถไฟในประเทศเดียวทั้งประเทศ เช่น สเปน 2,800 กม. ญี่ปุ่น 2,700 กม. ฝรั่งเศส 2,000 กว่า กม.

เส้นทางรอบเกาะไหหลำ 650 กม. หนึ่งเดียวในโลก และเป็นเมืองร้อนสูงสุด 43 องศา

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว เจ้าหน้าที่กำลังปรับผิวดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟขนาดใหญ่บริเวณชายแดนจีน-ลาว ในจุดบ่อหาน-บ่อเต็ง เพื่อเชื่อมเส้นทางจากคุนหมิงไปยังสปป.ลาว

 

ในอนาคตจีนยังพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อเชื่อมต่อรวม 31 มณฑลทั่วประเทศ เป็นเส้นทางที่ยาวที่สุดในโลก โดยจะขยายให้ได้ระยะทาง 2,000 กม.ในทุกปี วางเป้าว่าจะเพิ่มให้ถึง 3.8 หมื่น กม.ภายในปี 2025

จ้าว หัวถาง อธิบดีกรมเทคโนโลยีและสารสนเทศของจีน กล่าวว่า การรถไฟจีนมีความสามารถสร้างรถไฟได้ในพื้นที่ทุกสภาพภูมิอากาศและทุกภูมิประเทศ ไม่ว่าบริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยภูเขา แม่น้ำ และจีนจะขยายเส้นทางไปเรื่อยๆ ภายในสิ้นปีนี้ จีนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2.5 หมื่น กม. มากกว่า 60% ของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว เจ้าหน้าที่กำลังปรับผิวดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟขนาดใหญ่บริเวณชายแดนจีน-ลาว ในจุดบ่อหาน-บ่อเต็ง เพื่อเชื่อมเส้นทางจากคุนหมิงไปยังสปป.ลาว

 

“โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในจีนมี 8 เส้นทางหลัก เป็นแนวนอน 4 เส้นทาง แนวตั้ง 4 เส้นทาง เป็นประโยชน์สำหรับชาวจีนมาก และช่วยขนผู้โดยสารได้ถึงวันละ 5 แสนคน ปัจจุบันความเร็วที่ใช้วิ่งสูงสุดอยู่ที่ 350 กม./ชม. ในอนาคตอันใกล้จะเพิ่มความเร็วมากกว่านี้ ส่วนในปี 2565 ซึ่งจีนจะจัดโอลิมปิกฤดูหนาว จะยกระดับรถไฟความเร็วสูงที่ไม่ต้องใช้คนขับ ผู้โดยสารไม่ต้องใช้ตั๋ว เพียงแค่สแกนหน้าก็ผ่านได้”

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว เจ้าหน้าที่กำลังปรับผิวดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟขนาดใหญ่บริเวณชายแดนจีน-ลาว ในจุดบ่อหาน-บ่อเต็ง เพื่อเชื่อมเส้นทางจากคุนหมิงไปยังสปป.ลาว

 

ปัญหาของการสร้างรถไฟที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องการขาดทุนแม้กระทั่งในไทยเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย จ้าว หัวถาง ชี้แจงว่า ไม่ว่าจะสร้างเส้นทางไหน สิ่งสำคัญต้องเชื่อมโยงเมือง เขตอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจพิเศษ และต้องวางแผนพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟ ดังนั้น ถ้าพูดจะได้กำไรหรือไม่ต้องดูหลายส่วน ยกตัวอย่างเช่น จีนได้ลงทุนสร้างรถไฟในประเทศเคนยา ประชาชนที่นั่นก็สนับสนุนและกำลังเพิ่มขบวนเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าปกติการก่อสร้างรถไฟจะได้กำไรน้อย แต่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างปักกิ่งกับเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเปิดให้บริการปี 2554 ผ่านไป 3 ปีก็เริ่มทำกำไร ปีที่แล้วได้ถึง 8,800 ล้านหยวน หรือประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท

สอดรับกับ หยาง เซียงตง หัวหน้าวิศวกรการรถไฟอู่ฮั่น เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ออกมายืนยันถึงความสำเร็จว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รถไฟความเร็วสูงของจีนได้แก้ไขปัญหาและยกระดับการเดินทางของประชาชน และได้ส่งเสริมการไหลของบุคลากรและทุน เกิดผลดีต่อการพัฒนาด้านท่องเที่ยว เศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และอื่นๆ จนกลายเป็นเศรษฐกิจรถไฟความเร็วสูง

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว เจ้าหน้าที่กำลังปรับผิวดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟขนาดใหญ่บริเวณชายแดนจีน-ลาว ในจุดบ่อหาน-บ่อเต็ง เพื่อเชื่อมเส้นทางจากคุนหมิงไปยังสปป.ลาว

 

โดยเฉพาะกองรถไฟอู่ฮั่นอยู่ ในภาคกลางของเครือข่ายรถไฟแห่งชาติ และเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อทุกเส้นทาง ระยะทางที่เปิดใช้มีถึง 5,075 กม. โดย 3 สถานีใหญ่ของอู่ฮั่น มีผู้โดยสารเข้าออก 2.5 แสนคน/วัน

“ลักษณะพิเศษของรถไฟจีน เหมาะกับการใช้ในทุกสภาพภูมิอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีลมแรงและมีทราย และ 10 ปีผ่านมาไม่ได้เกิดอุบัติเหตุด้วยเหตุผลคุณภาพรถไฟ ดังนั้น มีความปลอดภัยกว่าประเทศอื่น เพราะเราใช้เทคโนโลยีทันสมัย พลังงานต่ำ มีประสิทธิภาพ ควบคุมการสื่อสารทางออนไลน์ หัวรถไฟออกแบบเพรียวลม ลดความต้านทานของอากาศ ใช้อะลูมิเนียมอัลลอยด์มากกว่า ลดน้ำหนัก ลดการสูญเสียของพลังงาน”


จีน-ลาว-ไทย รถไฟเชื่อม ศก.-ท่องเที่ยว

การเชิญคณะสื่อมวลชนไทย-ลาว ไปเยี่ยมชมกิจการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลจีนครั้งนี้มีขึ้นใน 3 เมืองหลัก ประกอบด้วย กรุงปักกิ่ง พบกับผู้นำบริษัทรถไฟแห่งประเทศจีน เยี่ยมชมศูนย์กลางควบคุมความเร็วและความปลอดภัย ตามด้วยเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูงในภาคกลางของจีน และศูนย์ฝึกทักษะบุคลากรที่จะเข้าทำงานด้านรถไฟ

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ถนนสาย 213 จากเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน-บ่อเต็ง ระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยจีนทำทางยกระดับเสร็จเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เดินทางดวกเลาะไปตามภูเขา มีการเจาะอุโมงค์ถึง 70 กว่าแห่ง

 

จุดสำคัญที่ทางการจีนนำคณะสื่อมวลชนไทยลาวไปดูคือ บริเวณชายแดนจีน-ลาว เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน-บ่อเต็น ตั้งอยู่ใกล้เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ที่จีนผลักดันให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสองประเทศ และจะมีสถานีรถไฟขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเส้นทาง One Belt One Road จากนครคุนหมิงมา สปป.ลาว เชื่อมต่อยังไทย รองรับการค้า การลงทุน ขนาดมหึมาของสองประเทศ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ บ่อหาน-บ่อเต็นแห่งนี้ รัฐบาลจีนทุ่มเงินลงทุนจำนวนมากเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคมายังพื้นที่ 24 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ในจำนวนนี้เป็นฝั่ง สปป.ลาว 16.4 ตร.กม.

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว ถนนสาย 213 จากเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน-บ่อเต็ง ระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยจีนทำทางยกระดับเสร็จเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เดินทางดวกเลาะไปตามภูเขา มีการเจาะอุโมงค์ถึง 70 กว่าแห่ง

 

อู้ เหวิน ชาง หัวหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน-บ่อเต็นของจีน กล่าวว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นเขตเศรษฐกิจจีนกับ สปป.ลาว แต่รัฐบาลจีนได้อนุมัติเมื่อปีแล้วให้ขยายพื้นที่เพิ่ม ประกอบด้วย เขตอุตสาหกรรม 6 ประเภท หัวใจหลักคือ เขตธุรกิจ การเงิน ธนาคาร การค้า อีกส่วนคือ เป็นศูนย์กลางการขนส่ง โลจิสติกส์ระบบราง มีสินค้าส่งออกไป สปป.ลาว เช่น แอปเปิ้ล ผัก กระเทียม เครื่องจักร อะไหล่รถยนต์ ส่วน สปป.ลาว ส่งกล้วย แตงโม นอกจากนี้จะพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งหมดจะทยอยสร้างให้เสร็จในปี 2564 รองรับรถไฟที่จะวิ่งเข้า สปป.ลาว ส่วนฝั่งลาวคือ บ่อเต็นก็จะมีเขตเศรษฐกิจคล้ายกันทั้งธุรกิจ ท่องเที่ยว การขนส่ง โดยธนาคารฟูเตียนของจีนจะเปิดสาขาที่ชายแดนบ่อเต็นด้วยเพื่อสนับสนุนการค้าขาย

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว อุโมงค์รถไฟที่จีนเริ่มสร้างเชื่อมต่อฝั่ง สปป.ลาว ที่ด่านบ่อหาน-บ่อเต็น

 

อู้ เหวิน ชาง กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีบริษัทจีนเข้ามาลงทุน เช่น ยูนนาน โลจิสติกส์ กรุ๊ป ขนส่งสินค้าเกษตรเข้ามาในลาว และจีนยังได้ลงทุนทำโรงงานผลิตอาหารสีเขียวในพื้นที่เขตเศรษฐกิจนี้ โดยจะส่งออกผลไม้แอปเปิ้ล ลูกแพร์ไปยังลาว ไทยได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ฝ่ายจีนก็ต้องการ ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ รวมถึงอาหารทะเล ที่จะนำเข้าจากไทย ดังนั้น ถ้ารถไฟเปิดใช้บริการ การขนส่งสินค้ายังสามประเทศจะมีมากขึ้น

ตามที่ได้กล่าวมา เขตเศรษฐกิจบ่อหาน-บ่อเต็น จะเป็นพื้นที่ใช้ก่อสร้างสถานีรถไฟเส้นทางสายไหม จีนกันพื้นที่ 1,000 ไร่ เนรมิตสถานีรถไฟขนาดใหญ่อีกแห่งก่อนจะข้ามเขต สปป.ลาว ใช้เงินลงทุน 2,500 ล้านบาท จะเป็นสถานีที่เปลี่ยนหัวรถไฟได้ และขุดบ่อทำเขื่อนล้อมรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วม เริ่มสร้างกลางปีที่แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับผิวดินเพื่อเตรียมสร้างสถานีรถไฟคืบหน้าไป 59.2% ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นภูเขา มีการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟเชื่อมสองประเทศในชื่อว่า “อุโมงค์มิตรภาพจีน-ลาว” ความยาว 9.5 กม. อยู่ในฝั่งจีน 7.1 กม. ลาว 2.3 กม. โดยขณะนี้ฝั่งจีนได้ขุดเจาะไปแล้ว 300 เมตร กำหนดเสร็จในเดือน ก.พ. 2563

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว แผนผังยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน

 

เส้นทางรถไฟในฝั่ง สปป.ลาว จะมีความยาว 427 กม. แล่นผ่าน 5 แขวงจากทางชายแดนภาคเหนือของประเทศลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา, แขวงอุดมไซ, แขวงหลวงพระบาง, แขวงเวียงจันทน์ และนครหลวงเวียงจันทน์ มีสถานีรถไฟ 31 แห่ง สถานีหลัก 5 เมือง ประกอบด้วย บ่อเต็น เมืองไซ หลวงพระบาง วังเวียง นครหลวงเวียงจันทน์ ความเร็วรถไฟอยู่ที่ 160-220 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางจากบ่อเต็งถึงเวียงจันทน์ 2-3 ชม. กำหนดเปิดใช้บริการ 2564

การก่อสร้างมีความยากลำบากมากกว่าฝั่งไทยมากเนื่องจากพื้นที่ 80% เป็นภูเขาและที่ราบสูง ข้ามแม่น้ำโขง 2 จุด ต้องสร้างสะพาน 167 แห่ง ขุดอุโมงค์ลอดภูเขา 75 แห่ง อย่างไรก็ตาม จ้าว หัวถาง อธิบดีกรมเทคโนโลยีและสารสนเทศของจีน ยืนยันว่า ไม่เป็นปัญหาเพราะจีนมีประสบการณ์จากการสร้างในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่ต้องมีการเจาะอุโมงค์และสร้างสะพานหลายแห่ง

“เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งไทยและจีนได้ลงนามในสัญญาออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งขณะนี้ วิศวกรจีนได้สำรวจพื้นที่และจะใช้เทคโนโลยีที่มีมาตรฐานดีที่สุดของจีนมาก่อสร้าง ส่วนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไป สปป.ลาว ทางจีนลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง” 

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนแบ่งออกเป็น 4 เส้นทางแนวตั้ง และ 4 เส้นทางแนวนอน ความยาวรวม 2.5 หมื่นกิโลเมตร

 

จ้าว หัวถาง กล่าวว่า จุดประสงค์ของการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมไทย-ลาว เพื่ออำนวยความสะดวก และขนส่งสินค้า เป็นประตูเปิดให้นักท่องเที่ยวจีนมาเข้ามา สปป.ลาว มากขึ้น ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ได้ไปเยี่ยมฝั่ง สปป.ลาว ดูความคืบหน้าการก่อสร้างแล้ว สิ่งสำคัญ จีนหวังที่จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งลาวและไทย และการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล โครงการนี้เพื่อสร้างโครงข่ายรถไฟสายใหม่ในเอเชีย นอกจากจีนไปยังลาวและไทยแล้ว เราก็วางแผนที่จะเชื่อมกับมาเลเซียและสิงคโปร์”

อธิบดีกรมเทคโนโลยีและสารสนเทศจีน ย้ำว่า ขอให้เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย เพราะจีนให้ความสำคัญมากที่สุด และรถไฟความเร็วสูงในจีนก็ปรับปรุงเทคโนโลยีอยู่ตลอด เราได้สร้างห้องแล็บไว้ทดลองชิ้นส่วนที่จะติดตั้ง การ์ดต่างๆ ในรถไฟ เช่น ถ้ารถไฟเจอสภาพแบบไหน อากาศแบบนี้จะผ่านไปได้หรือไม่ หรือจะหยุดรถไฟก่อนเพื่อความปลอดภัย

มุมมองจากฝั่ง สปป.ลาว สังขาร จูงคำพัน รองอธิบดีกรมวิทยุแห่งชาติ สปป.ลาว ซึ่งร่วมเดินทางมาดูความคืบหน้าครั้งนี้ กล่าวว่า จีนมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งที่น่ามหัศจรรย์คือ จีนพัฒนารถไฟได้เร็วกว่าตะวันตก เทคโนโลยีก็ล้ำหน้ากว่าญี่ปุ่น เยอรมนี

“ตอนนี้คนลาวรู้สึกตื่นเต้นที่จะมีรถไฟความเร็วความเร็วสูงเพราะปัจจุบันลาวไม่มีรถไฟ เมื่อจะมีแล้วก็ข้ามชั้นไปรถไฟความเร็วสูงเป็นแถวหน้าเพราะจะประเทศแรกในอาเซียนที่มี ขณะนี้รัฐบาลลาวก็เอาใจใส่ หากก่อสร้างพื้นที่ไหนที่กระทบกับการเกษตรก็จะเวนคืนให้ และเชื่อว่า ถ้าเปิดใช้บริการเมื่อไร จะมีนักท่องเที่ยวจากไทยและจีนเดินทางรถไฟมาที่วังเวียงและหลวงพระบางมากขึ้น ปัจจุบันถ้าเดินทางโดยรถบัสจากเวียงจันทน์ไปหลวงพระบางใช้เวลา 7 ชั่วโมง ถ้าใช้รถไฟจีน-สปป.ลาว จะเหลือเพียง 1-2 ชม.เท่านั้น” สังขาร กล่าว

ทั้งหมดถ้าเป็นไปตามแผนในปี 2564 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ไทย-ลาว จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงสัญชาติจีน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนได้มาก

นับถอยหลัง 4 ปีไฮสปีดเทรนจีน สถานีต่อไปจอดป้าย ไทย-ลาว แผนที่สถานีรถไฟความเร็วสูงที่จีนจะเชื่อมมายังสปป.ลาว-ไทย- เวียดนาม มีการระบุสถานีต่างๆ ในพื้นที่ของแต่ละประเทศอย่างชัดเจน ติดตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟมณฑลยูนาน