posttoday

การปฎิรูปตัวอักษรเมียนมา

11 พฤศจิกายน 2562

โดย กริช อึ๊งวิฑูรย์สถิตย์

 

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางการของเมียนมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกฏหมายและระเบียบข้องบังคับหลายๆด้านด้วยกัน สิ่งหนึ่งที่ ท่าน ดอร์ อ่อง ซาน ซูจี ได้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ก็คือการปรับปรุงตัวอักษรของประเทศเมียนมา

เพราะจะทำให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่าแท้จริงเสียทีเดียว ผมจะค่อยๆอธิบายให้ฟังนะครับว่านั่นมีความสำคัญอย่างไร การปรับปรุงตัวอักษรของประเทศนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

แต่ประเทศไทยเราโชคดี ที่ทั้งประเทศเราใช้ตัวอักษรเดียวกันมาแต่ใหนแต่ไรจึงไม่รู้สึกว่าไม่เห็นมีอะไรสลักสำคัญ แต่บางประเทศนั้น การเปลี่ยนแปลงตัวอักษรนั้น หมายถึงการปฏิวัติวัฒนธรรมเลยทีเดียว เช่นประเทศจีน ในยุคก่อนหน้านั้น ที่ประเทศจีนใช้ตัวอักษรแบบเดียวคือ "ฝานถี่จื่อ" หรือ เรียกอีกอย่างที่คนไทยเข้าใจง่ายๆ คือ ตัวอักษรโบราณแบบเขียนเต็ม

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครองประเทศ ที่นำโดยท่านประธานเหมา เจ๋อตง ศรีภรรยาของท่านผระธานเหมาเป็นผู้ทรงอำนาจมาก คือ นางเจียง ชิง ได้สั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตัวอักษรทั้งหมด เป็นการใช้ตัวอักษร "เจี๋ยน ถี่ จื่อ" ซึ่งเรียกแบบคนไทยที่เข้าใจง่ายๆว่า ตัวอักษรแบบย่อ ที่เราเห็นนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ใช้กันนั่นและครับ

ในอดีตตัวอักษรแบบฝานถี่จื่อนั้น เวลาเปิดพจนานุกรมที ก็แสนจะยุ่งยาก เพราะมีการใช้ระบบ "จู้หยิงฝูฮ้าว" หรือ คนรุ่นผมจะเข้าใจ คือ พอเริ่มเรียน ก็จะต้องท่องจำ ปอ พด มอ ฟอ หรือ ครูบางท่านก็สอนว่าเปอ เพอ เมอ เฟอ เป็นต้น

และเวลาจะเปิดพจนานุกรม ก็ออกเสียงด้วยการสะกดคำเป็นจู้หยิงฝูฮ้าวก่อน แล้วจึงเปิดหา อีกวิธีหนึ่งคือใช้แบบ "สี่เจี่ยวฮ้าวหม่า" คือเขาจัดตัวอักษรด้วยการกำหนดให้สี่มุมของตัวอักษรว่า แต่ละมุมเป็นหมายเลขอะไร

แล้วจึงเปิดตามหมายเลขนั้นๆเพื่อหาคำแปลตัวอักษรในพจนานุกรม วิธีที่สามคือใช้วิธี "ปี่ฮั้ว" หมายถึงนับว่าขีดหรือเส้นของตัวอักษร แต่ละตัวที่เราจะหาว่ามีกี่ขีด
แล้วจึงเปิดตามจำนวนขีดของตัวอักษร เห็นมั้ยละครับว่าการเรียนภาษาจีนนั้นยุ่งยากมากๆ

ต้องเปิดพจนานุกรมให้เป็นทั้งสามอย่างเลย เพราะบางครั้งใช้วิธีเดียวเปิดพจนานุกรมหาตัวอักษรไม่เจอ อีกอย่างภาษาจีนนั้นเป็นภาษาที่ตัองจำตัวอักษรให้ได้
จึงต้องมีการท่องจำกันในการเรียน และอีกอย่างคือเขียนตามคำบอกของครู

ดังนั้นทุกครั้งที่ครูจะเริ่มสอนบทต่อไป ครูก็จะเรียกให้นักเรียนทีละคนออกมายืนหน้าชั้นเรียน แล้วปิดหนังสือ แล้วท่องบทเรียนที่ผ่านมา เรียกว่า "เป้ยซู" ใครท่องผิดหรืออึกๆอักๆ ก็รับรางวัลเป็นไม้เริยวไปทุกทีจะเหมือนกันหมด

ดังนั้นนักเรียนที่เรียนภาษาจีนมา จึงมีความสามารถพิเศษในการท่องจำมาก ไม่เหมือนการเรียนการสอนของไทย ที่ไม่มีระบบนี้ นอกจากท่องอาขยาน หรือท่องแม่สูตรคูณเท่านั้น

ดังนั้นพอเกิดนึกอยากเปลี่ยนระบบการใช้ตัวอักษรขึ้นมา ด้วยการให้คนคิดค้นหาวิธี "พิงหยิง" ด้วยการใช้อักษรภาษาอังกฤษมาสะกดคำ แล้วใช้ในพจนานุกรม จากนั้นก็ได้เปลี่ยนการเขียนจากตัวอักษร "ฝาน ถี่ จื่อ" แบบเดิม

โดยเอาการเขียนแบบหวัดๆมาเป็นแม่แบบตัวอักษรแบบใหม่ ทำให้การเรียนภาษาจีนของเด็กรุ่นใหม่ง่ายกว่าแบบดั้งเดิมเยอะมาก ไม่ต้องคิดมากเลยครับ เอาแค่บนแท่นพิมพ์ซึ่งต่อมาระบบสมาร์ทโฟนเข้ามาสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้คนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างง่ายดายมากเลยครับ

นี่ต้องยกคุณงามความดีให้กับคนที่ค้นคิดเขาไป เพราะเรื่องการปฏิรูปตัวอักษร ก็ต้องยกย่องและให้เครดิตเขาเหล่านั้นจริงๆนะครับ หันมาดูที่ประเทศเมียนมาบ้าง ที่เมียนมาเนื่องจากปกครองด้วยระบอบสมาพันธ์รัฐ

ที่แต่ละรัฐที่มีการปกครองของแต่ละชนเผ่า อีกทั้งแต่ละชนเผ่าล้วนมีอักษรของตนเอง ภาษาของตนเอง ดังนั้นการเขียนอ่านภาษาเมียนมาที่เป็นภาษากลาง
แต่ละชนเผ่าก็จะผิดแผกแตกต่างกันไป ตัวอักษรก็จะผสมผสานกันไปหมด ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด

ในขณะที่แท่นพิมพ์ก็จะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว นี่จึงทำให้การเรียนการสอนจึงอีลักอีเลื่อกันอย่างยิ่ง ดังนั้นท่านดอร์ อ่อง ซาน ซูจี จึงได้สั่งการมาให้เปลี่ยนมาใช้ตัวอีกษร Unicode ที่สามารถใช้กับยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องใช้กับ Google และยังสามารถใช้การพูดสั่งการในโทรศัพพ์มือถือรุ่นใหม่ๆได้อีกด้วย

ซึ่งก็จะสามารถใช้ได้ทุกระบบที่ Google ไม่ว่าจะเป็น Google Translate, Google map, Google Earthเป็นต้น อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้ Wikipedia และ TED (Technology Entertainment and Design) ที่ใช้ในด้านความบันเทิง และยังสามารถค้นหาข้อมูลด้านการศึกษาและการอ่านหนังสือออนไลน์ได้อีกด้วยครับ

ดังนั้นการศึกษาของเมียนมาเขาไม่ได้ล้าหลังอีกต่อไปแล้วครับ นี่คือการปฎิรูปการศึกษาที่น่าชื่นชมในวิสัยทัศของท่านผู้นำจริงๆครับ