posttoday

พัฒนา Medical Tourism ไทยรองรับกลุ่มประเทศ CLMV

29 มิถุนายน 2565

โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) www.itd.or.th

ประเทศไทยมีขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจบริการด้านการแพทย์ด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการที่ส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยขยายตัวต่อเนื่อง

เช่น อัตราค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมความพร้อมทางการแพทย์และสถานพยาบาล บุคลากรมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เทคโนโลยีทันสมัยการบริการที่มีคุณภาพขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจบริการสุขภาพทำให้ชาวต่างชาติ

โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เกิดการรับรู้ว่าประเทศไทยมีบุคลากรแพทย์ที่มีความสามารถในการรักษาโรคและมีความคุ้มค่าในการรักษาซึ่งเป็นปัจจัยดึงสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยข้ามพรมแดนมาใช้บริการในประเทศไทยโดยผู้ที่ข้ามมาใช้บริการคำนึงถึงคุณภาพของการบริการสุขภาพที่จะได้เป็นหลัก

เนื่องจากรับรู้ได้ว่าเมื่อมาใช้บริการในประเทศไทยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสถานบริการในประเทศเพื่อนบ้านขณะที่ในอีกด้าน จากปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประชาชนในกลุ่มประเทศ CLMVและไทยที่แตกต่างกันอย่างมาก

ทั้งระดับการพัฒนาทรัพยากรสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานทำให้ประชากรในกลุ่มประเทศ CLMVข้ามแดนมาเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนของไทยทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และแรงงานต่างด้าวเนื่องจากการเดินทางข้ามพรมแดนที่เสรีมากขึ้นเอื้อให้กลุ่มลูกค้าผู้ป่วยจาก CLMVสามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ในไทยได้สะดวกและง่ายขึ้น

โดยเฉพาะในจังหวัดตามแนวชายแดนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย ควรมีการดำเนินการพัฒนาระยะสั้นอย่างเร่งด่วน เช่นส่งเสริมการตลาดเฉพาะเป้าหมาย สร้างความร่วมมือด้านการตลาดกับธุรกิจอื่น ๆเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จัดทำฐานข้อมูลและความเชี่ยวชาญรายสาขาของโรงพยาบาลในประเทศไทย

รวมถึงการจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

พัฒนาทักษะด้านภาษาให้บุคลากรทางการแพทย์แก้ไขข้อกฎหมายให้แพทย์ชาวต่างประเทศทำงานในประเทศไทยได้นานขึ้นโดยในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยในเชิงโครงสร้างควรวางแผนการผลิตแพทย์เฉพาะทางส่งเสริมให้โรงพยาบาลเอกชนไทยผ่านการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลในระดับสากล (Joint CommissionInternational: JCI) จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โดยตั้งเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณจุดเดียว

รวมถึงพัฒนาและสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างหัวเมืองหลักกับเมืองย่อยเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักฟื้นในภูมิภาคต่างๆ

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรธุรกิจสุขภาพของไทยควรสร้างจุดเด่นของการบริการทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทางเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโรงพยาบาลในระยะยาวมุ่งการรักษาที่ดีมีคุณภาพมากกว่าเน้นเรื่องธุรกิจหรือการแสวงหาผลกำไรเกินควรเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจขาลงที่ส่งผลถึงสภาพคล่องทางการเงินและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพและธุรกิจเชื่อมโยงควรร่วมกำหนดรูปแบบการจัดการอุปทานของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เป็นระบบเพื่อเติมเต็มช่องว่างการบริการระหว่างโรงพยาบาลกับลูกค้าชาวต่างชาติตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวต่างประเทศที่ต้องการใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างครบวงจร

และเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กลุ่ม CLMV ประเทศไทยต้องเร่งปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดการสงเคราะห์ตามหลักมนุษยธรรมของโรงพยาบาลรัฐ ที่เกิดจากการไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้

โดยพิจารณาสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีในระดับพื้นที่ระหว่างโรงพยาบาลชุมชนชายแดนกับโรงพยาบาลประเทศเพื่อนบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ การคัดกรองด้านสิทธิค่ารักษาอย่างรัดกุมหาแนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการกองทุนประกันสุขภาพระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องตระหนักถึงควบคุมกำกับอัตราค่าบริการให้เหมาะสมและเป็นธรรมเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบด้านราคาและคุณภาพจากกลุ่มผู้ป่วยข้ามแดนเพื่อจะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศอีกด้วยรายละเอียด

สามารถอ่านรายงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ www.itd.or.th