posttoday

การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยใน IMT-GT

28 เมษายน 2565

โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)www.itd.or.th

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันราว 5.083 ล้านไร่พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้คิดเป็น 85.5% ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งประเทศโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด 1.23 ล้านไร่ กระบี่ 1.12 ล้านไร่ และชุมพร 1.01 ล้านไร่ประเทศไทยมีผลผลิตปาล์มน้ำมันปีละประมาณ 12 ล้านตัน

โดยปี 2563 ไทยส่งออกน้ำมันปาล์มมูลค่ากว่า236,251 ล้านบาท จากสถิติ ปี 2561 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มหลักของโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1ประเทศอินโดนีเซียครองสัดส่วน 56.77% ของการผลิตน้ำมันปาล์มโลก อันดับที่ 2ประเทศมาเลเซียครองสัดส่วน 27.31% และอันดับที่ 3 ประเทศไทย 3.89% โดยทั้งสามประเทศรวมกันถือครองสัดส่วนการผลิตน้ำมันปาล์มโลกกว่า 87.97% ของโลกอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยมีความร่วมมือการพัฒนา “เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย” (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT)ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้งสามประเทศกำหนดแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี (Implementation Blueprint 2017-2021)

ในแผนงานภายใต้ความร่วมมือ IMT-GTดังกล่าวได้ระบุถึงโครงการความร่วมมือด้านปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม (IMT-GT Cooperation on OilPalm and Palm Oil) โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตน้ำมันปาล์มในสถาบันเกษตรกรและโครงการศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมการเกษตรผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพบนพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นต้น

จากการศึกษาของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD พบว่าอุปสรรคสำคัญของการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศไทยยังมุ่งเน้นการบริโภคและใช้เป็นพลังงานในประเทศเป็นหลักประกอบกับการที่ประเทศไทยมีการกำหนดให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่านเมื่อไม่สามารถนำเข้าทะลายปาล์มและน้ำมันปาล์มได้อย่างเสรีจึงส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของปริมาณวัตถุดิบภายในประเทศ ขาดการต่อยอดในอุตสาหกรรมขั้นสูงหรือโอเลโอเคมีคอลภายในประเทศ

ทั้งนี้ ITDมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ เพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในตลาดโลกและสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบความร่วมมือ IMT-GTเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันได้อย่างยั่งยืน ดังนี้

การพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นระบบและการจัดโครงสร้างการบริหารนโยบายโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพราคาทะลายปาล์มน้ำมันและดำเนินการตามแผนพัฒนาไบโอดีเซล และวางแผนการพัฒนาและบริหารแผนอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลการพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

โดยการส่งเสริมให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลในประเทศมาเลเซียในรูปแบบต่างๆ จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวและการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลในประเทศไทยเพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มการสร้างภาพลักษณ์ของปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มต่อประชาคมโลกการทำให้เกิดความเข้าใจต่อภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของผลผลิตจากกลุ่มประเทศ IMT-GT และไปสู่กลุ่มCPOPC เป็นประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาคในระยะยาว

ไทย เสนอตัวทำโครงการเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ปาล์มในประชาคมโลกในกรอบเจรจา IMT-GT และกรอบCPOPCการพัฒนามาตรฐานความยั่งยืน (RSPO) มาตรฐาน RSPOคือมาตรฐานสากลที่วางแนวปฏิบัติให้เกิดพฤติกรรมที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนำมาซึ่งผลผลิตที่สูงขึ้นรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก

ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินแนวปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPOเป็นทิศทางที่สร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรทั้งทางตรงและทางอ้อม การเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPOPCเวทีระหว่างประเทศที่รวมกลุ่มเพื่อเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งในสินค้าเกษตรที่ใกล้ชิดไทยมากที่สุดการเข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวรเป็นขั้นต้นของการพัฒนาความร่วมมือสำหรับกรอบ IMT-GTและจะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในกรอบ ASEAN ต่อไป

รวมไปถึงการพัฒนาไปสู่กรอบ RCEPในขณะเดียวกันความรุดหน้าในองค์ความรู้และความก้าวหน้าในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของมาเลเซียมีมากกว่าไทยอย่างเด่นชัด การเข้าเป็นสมาชิก CPOPCนำมาซึ่งโอกาสของการนำเสนอข้อหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมือ

โดยไทยต้องมีเป้าหมายในการทำงานเชิงรุกการรับรองมาตรการการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของสหภาพยุโรปเนื่องจากในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลต้องมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีมาตรการส่งเสริมการจัดการและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกันตัวอย่างเช่น

1) ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน 2)ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 3) โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยคาร์บอนด้วยความสมัครใจการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในบริบทโลกและทักษะการเจรจาโดยการปูพื้นฐานและสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจเพิ่มมากขึ้นบุคลากรของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในการเจรจาเพื่อไปสู่การแลกเปลี่ยน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบ IMT-GT ซึ่งเป็นเวทีระหว่างประเทศที่ใกล้ชิดที่สุดและเป็นบันไดสู่เวทีASEAN และระดับที่สูงขึ้นต่อไป