posttoday

การขับเคลื่อนสตาร์ทอัพผ่านการร่วมทุนในสิงคโปร์

29 กรกฎาคม 2564

โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) www.itd.or.th

การสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ธุรกิจร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC)มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการเป็นแหล่งเงินทุนที่สตาร์ทอัพเข้าถึงได้ การอำนวยความสะดวกให้Venture Capital ได้เติบโตอย่างเต็มที่ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยต่างๆเข้าถึงแหล่งเงินทุนและมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว

สิงคโปร์ได้รับการยกย่องว่า มีระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup ecosystem) ที่ดีที่สุด โดย StartupGenome ในปี 2564 รายงานว่า สิงคโปร์ติดอันดับที่ 17 การเป็นเมืองที่มี startup ecosystem ที่ดีที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ตามหลัง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และโตเกียว) และเป็นอันดับที่ 1ในภูมิภาคอาเซียน

ด้วยวิสัยทัศน์ของสิงคโปร์ที่ต้องการให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสิงคโปร์จึงให้ความให้สำคัญกับการสนับสนุนสตาร์ทอัพในทุกช่องทาง รวมไปถึงการผลักดันบทบาทของ VentureCapital ในการร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่

นอกจากนี้ Venture Capitalบางรายยังมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายในธุรกิจให้แก่สตาร์ทอัพเมื่อปี 2562 White Star Capital รายงานว่า Venture Capital ในสิงคโปร์ได้มีการระดมทุน (Deals)ทั้งสิ้น 210 ครั้ง สร้างมูลค่ารวมกันมากกว่า 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดย Venture Capitalสัญชาติสิงคโปร์ที่มีบทบาทสำคัญ เช่น Wavemaker Partners, SGInnovate และ Temasekซึ่งแต่ละรายระดมทุนให้สตาร์ทอัพไปทั้งสิ้น 89, 64, และ 64 ครั้ง ตามลำดับ ขณะเดียวกันมีสตาร์ทอัพที่ได้รับทุนก้อนใหญ่ เช่น Lazada (1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) BingoLive (1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ)และ Sea Group (884 ล้านเหรียญสหรัฐ)สิงคโปร์ได้ออกแบบนโยบายที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินงานของ Venture Capitalโดยเฉพาะกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทุนและการบริหารกองทุน

ยกตัวอย่าง ในปี 2560 TheMonetary Authority of Singapore (MAS) ได้ประกาศลดข้อกำหนดด้านคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนกล่าวคือธุรกิจ VC ไม่จำเป็นต้องมีผู้แทนบริษัทที่มีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนถึง 5 ปีนอกจากนี้ MAS ยังลดข้อกำหนดในการสะสมเงินทุนตั้งต้นตามระเบียบเดิม และไม่กำหนดให้ VCต้องยื่นเอกสารการตรวจสอบบัญชีอีกต่อไป แต่ธุรกิจ VCทั้งหมดยังคงต้องเข้ารับการตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยงด้านการฟอกเงินตามข้อปฏิบัติของ Securities andFutures Act

นอกจากนี้ MAS ยังลดขั้นตอนการจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท VC ให้น้อยลงรวมทั้งการยื่นเอกสารต่าง ๆในภาพรวมเห็นได้ว่าสิงคโปร์มีวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกการจัดตั้งและการดำเนินงาน Venture Capitalโดยนโยบายนี้จะมีส่วนกระตุ้นให้บริษัท VC ทั่วโลกจำนวนมากเลือกจดทะเบียนในสิงคโปร์และผลักดันสิงคโปร์เป็น VC Hub ประจำภูมิภาค

ดังนั้น สตาร์ทอัพในสิงคโปร์ก็จะเข้าถึง VC ต่าง ๆ ได้โดยง่ายเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย และมีทุนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและบริการรูปแบบใหม่ต่อไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย White Star Capital ในปี 2562 กล่าวว่า บทบาทของ VentureCapital ในประเทศไทยยังมีไม่มาก โดยมีมูลค่าการระดมทุนเฉลี่ยประมาณ 120 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีและส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนในขั้นต้นของการก่อตั้งสตาร์ทอัพ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 Techsauce ได้รายงานว่าVC ในประเทศไทยได้มีการระดมทุนมูลค่ารวมกันมากกว่า 364.37 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการระดมทุนทั้งหมด 30ครั้ง ซึ่งเป็นยอดสถิติสูงสุดรายงานวิจัยซึ่งจัดทำโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาเมื่อปี 2562 ระบุว่า VentureCapital ที่มีบทบาทหลักในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะก่อตั้งโดยองค์กรภาคเอกชน ยกตัวอย่าง SCB10x,Bualuang Ventures, และ Krungsri Finnovate โดย VC ประเภทนี้สร้างมูลค่าการระดมทุนรวมกันสูงถึงร้อยละ60 ของการระดมทุนทั้งหมด

ขณะเดียวกัน Techsauce ได้รายงานว่า ในปี 2563มีสตาร์ทอัพไทยที่ได้รับการระดมทุนครั้งใหญ่ เช่น Flash Express (200 ล้านเหรียญสหรัฐ) Lightnet (31.2ล้านเหรียญสหรัฐ) และ Finnomena (10 ล้านเหรียญสหรัฐ)

นอกจากนี้ ยังมีการระบุว่า Venture Capitalในประเทศไทยประสบปัญหาสำคัญด้านการจัดตั้งบริษัทและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวคือ บริษัท VCในไทยต้องบริหารความเสี่ยงกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel III และบริษัทลูกประเภท VCจะสามารถร่วมลงทุนได้เฉพาะในกิจการที่เป็น SMEs หรือธุรกิจเทคโนโลยีการเงินหรือเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุนอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินกองทรัสต์โดยสามารถร่วมลงทุนได้ถึง 10 ปี

การพิจารณาสภาพแวดล้อมของ Venture Capital ทั้งในสิงคโปร์และประเทศไทยชี้ให้เห็นว่ากฎหมายการจัดตั้งบริษัท VC และกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องการบริหารกองทุนถือเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานและการดึงดูดให้มีการจัดตั้งบริษัทประเภท VCผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายดังกล่าว

จำเป็นจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อดึงดูด VC ต่าง ๆขณะเดียวกัน ก็ไม่เปิดช่องโหว่ในการทำทุจริตหรือสร้างความเสี่ยงทางการเงินเกินสมควร