posttoday

GBA-EEC โอกาสทางการลงทุนระหว่างจีน-ไทย

22 ตุลาคม 2564

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)www.itd.or.th

จากข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ Belt and Road Initiative (BRI) ของประเทศจีน ฺโดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของนโยบายดังกล่าวคือ การจัดตั้งโครงการ Greater Bay Area (GBA)หรือโครงการยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจ อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

ซึ่งมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านการเงิน การค้า เทคโนโลยี นวัตกรรม และโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงการค้าของจีนตอนใต้กับหลากหลายประเทศทั่วโลกโครงการ GBA มุ่งเน้นการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมที่ทันสมัย เช่น อุตสาหกรรมสารสนเทศอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่อุตสาหกรรมการต่อเรือไฮเทค และอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การผลิตยา

สอดคล้องกับการขับเคลื่อนโครงการ GBA ของจีน ประเทศไทยก็กำลังดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 โครงการ EEC มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจใน 3 จังหวัด ได้แก่ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ภายใต้การขับเคลื่อนการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และอุตสาหกรรมดิจิทัลพื้นที่ EEC ถือว่ามีความได้เปรียบทางโลจิสติกส์

เนื่องจาก EECครอบคลุมเส้นทางบกด้วยทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย และเชื่อมเส้นทางทะเล ระหว่างท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือในอ่าวกวางตุ้ง ในอนาคต ดังนั้น พื้นที่ EECอาจเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ได้เช่นกัน

รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “โอกาสการค้าและการลงทุนไทยจากนโยบาย Belt and RoadInitiative ของจีน” โดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ชี้ให้เห็นว่าโครงการ GBA ของจีนและโครงการ EECของไทยมีเป้าหมายคล้ายกันในแง่ของการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ทันสมัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล การผลิตหุ่นยนต์ การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต และการแพทย์สมัยใหม่เป้าหมายการพัฒนาที่คล้ายกันดังกล่าวสามารถส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระหว่างไทยและจีนเป็นอย่างมากโดยในปัจจุบัน มีบริษัทจีนจำนวน 123 บริษัทที่ได้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC แล้ว เช่น หัวเว่ย (Huawei)และพีซีแอล

นอกจากนี้ เมื่อศึกษาข้อมูลการขอรับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนจากฐานข้อมูล BOI จะพบว่ามีบริษัทยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในพื้นที่ EEC เพิ่มขึ้น 2 เท่าระหว่างปี 2560 และ 2561จึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตจะมีนักลงทุนจากจีนและฮ่องกงมาลงทุนใน EEC ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระหว่างไทยและจีนอย่างต่อเนื่องไทยควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างไทยและจีนใน 3 ประเด็นต่อไปนี้

ประการแรก ไทยมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับมณฑลกวางตุ้ง (ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งในพื้นที่ GBA) อยู่ก่อนแล้วเนื่องจากบรรพบุรุษไทยหลายคน ได้อพยพมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีนความสัมพันธ์เชิงพี่น้องดังกล่าวจะนำไปสู่ความไว้ใจกันและกัน และก่อให้เกิดโอกาสทางการค้าและการลงทุน

ประการที่สอง หน่วยงานรัฐของทั้งไทยและกวางตุ้งได้มีการลงนามบันทึกความตกลง (MOU)ต่อกันในหลากหลายประเด็น เช่น ประเด็นความร่วมมือการจัดตั้งสตาร์ทอัพและสมาร์ทซิตี้ของสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ประการที่สาม พื้นที่ GBA และพื้นที่ EEC มีจุดเด่นที่แตกต่างกันซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้แก่กันและกัน

โดยพื้นที่ GBA มีจุดเด่นในแง่ของการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกซึ่งมีฐานการผลิตระดับสากล ส่วนพื้นที่ EEC มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเชื่อมทั้งการขนส่งทางบทและทางทะเลไทยและจีนมีโอกาสที่จะดำเนินการค้าและการลงทุนได้อีกมากหากมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างโครงการ GBA ของจีนและโครงการ EEC ของไทย

ทั้งนี้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรายงาน “โอกาสการค้าและการลงทุนไทยจากนโยบาย Belt and RoadInitiative ของจีน” ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้ที่ https://www.itd.or.th/data-center/research-report/