posttoday

พัฒนาผู้นำรุ่นต่อไป (1)

07 เมษายน 2559

คําถามที่ดิฉันได้รับบ่อยๆ จากผู้บริหาร คือ อยากพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคต

โดย...ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ

คําถามที่ดิฉันได้รับบ่อยๆ จากผู้บริหาร คือ อยากพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคต แต่ผิดหวังอย่างมากที่ได้รับคำตอบว่า “หนูขออยู่แบบนี้ดีกว่าค่ะพี่ ไม่อยากเครียดเหมือนพี่ค่ะ” สร้างความประหลาดใจให้หัวหน้าที่ได้รับคำตอบ

ประเด็นนี้ทำให้ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์เกิดความหนักใจในการพัฒนาผู้นำรุ่นต่อไป การศึกษาที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งที่จัดทำในปี ค.ศ. 2015 โดย ATD (Association for Talent Development) ซึ่งเป็นองค์กรระดับสากลที่ส่งเสริมและเน้นการศึกษาด้านการพัฒนาคนและการเรียนรู้ ระบุผลลัพธ์ที่น่าสนใจในประเด็นนี้ คือ

จากการสำรวจนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1,000 คน และบุคลากรอีก 1,000 คนใน 8 ประเทศ ผู้ที่มองว่าองค์กรของตนมีจำนวนบุคลากรที่จะมารับตำแหน่งจัดการต่างๆ ได้เพียงพอนั้น มีไม่ถึงร้อยละ 47 นอกจากนั้น ร้อยละ 46 มองว่า ทักษะด้านภาวะผู้นำเป็นทักษะที่มองหาได้ยากมากในตัวบุคลากรในองค์กรของตน

ในมุมของบุคลากรพบว่า มีเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่อยากจะขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กร การศึกษานี้ยังได้พบว่าความแตกต่างของเพศและวัย ร้อยละ 64 ของผู้ชายสนใจที่เติบโตไปในตำแหน่งบริหาร

ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 36 ของผู้หญิงที่สนใจในด้านวัย ร้อยละ 54 ของ Generation X (เกิดช่วงปี 2508-2522 โดยประมาณ) สนใจเติบโตขึ้นไป ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 29 ของ Generation Y เท่านั้น (เกิดช่วงปี 2523-2540 โดยประมาณ)

ประเด็นที่เกิดขึ้น พอจะทำให้เราเห็นได้ว่า การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรอยากเติบโตไปเป็นผู้บริหารอยากพัฒนาไปเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกน้องปฏิเสธที่จะเติบโต ก็อย่าเพิ่งท้อเพราะแรงจูงใจของมนุษย์เรานั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในชีวิตของแต่ละคนได้เช่นกัน

อีกประการที่ลูกน้องมองว่าตำแหน่งหัวหน้ามีความเครียดสูงมักมาจากการที่พวกเขามองเห็นอะไรในทุกๆ วัน และเขาได้รับการสื่อสารอย่างไร

โดยธรรมชาติหัวหน้าย่อมอยากให้ลูกน้องมองว่าตนทำงานหนัก เพราะต้องการเป็นตัวอย่างที่ดี

ครั้งหน้ากลับมากล่าวถึงแนวทางการรับมือค่ะ

ติดตามข้อมูลการศึกษาต่างๆ ของ ATD ได้ที่ https://www.td.org/Professional-Resources