posttoday

ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก อาจแก้ไขได้ด้วยการให้หนอนกิน

25 เมษายน 2560

นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนค้นพบหนอนแว็กซ์สามารถย่อยสลายพยาสติกได้ สิ่งนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับปัญหาขยะ

นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนค้นพบหนอนแว็กซ์สามารถย่อยสลายพยาสติกได้ สิ่งนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับปัญหาขยะ

นักชีววิทยา และนักเลี้ยงผึ้งสมัครเล่นชาวสเปนเพิ่งจะค้นพบเร็วๆนี้ว่า ปัญหาขยะพลาสติดล้นโลกของเรานั้น อาจแก้ไขได้ด้วยเจ้าหนอนตัวเล็กจิ๋ว ที่เรียกกันว่าหนอนผีเสื้อกินไขผึ้ง หริอในอีกชื่อว่าหนอนแว็กซ์ (Galleria mellonella)

Federica Bertocchini จากสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพจากสเปน ค้นพบความสามารถพิเศษของเจ้าหนอนขนิดนี้เข้าโดยบังเอิญ ในขณะที่เธอกำลังทำงานอยู่ในฟาร์มผึ้งของตน หลังพบว่ามีหนอนแว็กซ์จำนวนมากเข้ามากินไขผึ้งในรัง เธอจับพวกมันแยกออกมาใส่ถุงพลาสติกไว้ แต่เมื่อกลับมาเธอพบพวกมันกระจัดกระจายเต็มไปหมด เพราะมันกัดกินถุงพลาสติกจนขาด และปีนหนีออกมา

ดังนั้นเธอ และทีมงานจึงเริ่มค้นหาคำตอบว่าสัตว์ชนิดนี้กินพลาสติกจริงหรือไม่ หรือพวกมันเพียงแค่กัดให้ขาดเท่านั้น ซึ่งผลการทดลองถูกเผยแพร่ลงวารสาร Current Biology เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และอาจนำไปสู่กุญแจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาขยะพลาสติก ที่กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก

พวกเขาค้นพบว่าภายในร่างกายเจ้าตัวอ่อนของผีเสื้อเหล่านี้ผลิตสารที่ช่วยย่อยพลาสติก โดยทดลองทิ้งหนอนจำนวน 100 ตัวไว้กับพลาสติกนาน 12 ชั่วโมง เมื่อกลับมาพวกเขาพบว่าพลาสติกมีสัดส่วนหายไป 92 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นการย่อยสลายพลาสติกที่รวดเร็วกว่าแบคทีเรียทำได้เสียอีก เพราะจากบันทึกนั้นแบคทีเรียสามารถย่อยสลายพลาสติกได้ 0.13 มิลลิกรัม ในระยะเวลาที่เท่ากัน และพวกเขายังพบสารประกอบป้องกันการแข็งตัวเกิดขึ้นกับพลาสติกที่ถูกแทะกิน ซึ่งช่วยยืนยันปฏิกิริยาการย่อยสลายของหนอนแว็กซ์

ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก อาจแก้ไขได้ด้วยการให้หนอนกิน

อะไรคือสิ่งที่มีส่วนในการช่วยย่อยพลาสติก? คำตอบอาจอยู่ที่ระบบนิเวศวิทยาของตัวหนอนแว็กซ์เอง เจ้าหนอนเหล่านี้ดำรงชีพด้วยการกินไขผึ้ง และอาศัยอยู่ภายในรังผึ้ง ซึ่งในไขผึ้งนั้นมีสารประกอบหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับพลาสติก แต่เดี๋ยวก่อนหากคุณผู้อ่านกำลังคิดที่จะปล่อยฝูงหนอนเป็นล้านๆตัวเข้าจัดการกับขยะถุงพลาสติก เพราะ Bertocchini กล่าวว่าไอเดียของพวกเขาดีกว่านั้น หากสามารถค้นพบโมเลกุลของสารดังกล่าว และผลิตสารชนิดเดียวกันกับที่อยู่ในตัวหนอนขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตามใช่ว่าทุกคนจะแฮบปี้กับการค้นพบนี้ Tracy Mincer นักชีววิทยาทางทะเลกล่าวว่า การลดการใช้พลาสติก และรีไซเคิลขยะนั้นเป็นเรื่องสำคัญกว่าการค้นพบหนอนที่จะกินพลาสติกมากนัก ในขณะที่ Ramani Narayan นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนให้ความเห็นว่าการค้นพบครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไร...