posttoday

ประกาศแล้วอิกโนเบล 2016! รางวัลสำหรับงานวิจัยสุดฮาประจำปี

25 กันยายน 2559

งานประกาศรางวัลทางการวิจัยชวนขำประจำปี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตแบบแพะ หรือการสะสมแมลงวัน แต่ในปีนี้ไม่มีคนไทยที่ได้รับรางวัล

งานประกาศรางวัลทางการวิจัยชวนขำประจำปี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตแบบแพะ หรือการสะสมแมลงวัน แต่ในปีนี้ไม่มีคนไทยที่ได้รับรางวัล

การวิจัยว่ากางเกงผ้าโพลีเอสเทอร์จะมีผลต่อการสืบพันธุ์ของหนูหรือไม่, การทดลองใช้ชีวิต และเดินแบบแพะ! เหล่านี้คือผลงานรางวัลอิกโนเบล (Ig Nobel) ประจำปีนี้ ซึ่งมอบให้แก่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์อันชวนขำขัน

สำหรับปีนี้ก็เป็นปีที่ 26 แล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งรางวัลนี้ขั้นเมื่อปี 1991 ซึ่งตามธรรมเนียมของทุกปีรางวัลดังกล่าวจะถูกมอบขึ้นก่อนพิธีการมอบรางวัลโนเบลประจำปี ที่จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้

การประกาศรางวัลมีขึ้นเมื่อคืนวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา หนึ่งในผู้ชนะรางวัลที่แสนโดดเด่นของปีนี้ได้แก่ Thomas Thwaites ชายเจ้าของหนังสือยขายดีที่ชื่อ GoatMan : How I Took a Holiday from Being Human ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบแพะสามวันในสวิสเซอร์แลนด์ ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่เขาต่อขึ้นมาเอง เพื่อเลียนแบบการเดินสี่ขาอย่างแพะให้สมจิงที่สุด แน่นอนว่าเขายังกินหญ้าจริงๆอย่างที่แพะกิน และร่วมหลับนอนกับฝูงแพะในยามค่ำคืนอีกด้วย

สำหรับรางวัลอื่นๆได้แก่

สาขาการเจริญพันธุ์ – Ahmed Shafik จากอียิปต์, งานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของกางเกงผ้าโพลีเอสเทอร์ ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ต่อกิจกรรมทางเพศของหนู และของมนุษย์เพศชาย

สาขาเศรษฐศาสตร์ - Mark Avis, Sarah Forbes และ Shelagh Ferguson จากนิวซีแลนด์, การประเมินลักษณะของก้อนหิน จากมุมมองด้านการขายและการตลาด

สาขาฟิสิกส์ - Gabor Horvath, Miklos Blaho, Gyorgy Kriska, Ramon Hegedus, Balazs Gerics, Robert Farkas, Susanne Akesson, Peter Malik และ Hansruedi Wildermuth จากฮังการี, สเปน, สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์, การค้นพบว่าทำไมม้าสีขาวถึงทนต่อตัวเหลือบที่สุด และทำไมแมลงปอถึงชอบไปตอมหลุมศพสีดำ

สาขาเคมี - บริษัทรถ Volkswagen จากเยอรมนี, การแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ โดยทำให้รถปล่อยแก๊สเสียน้อยลงได้เองถ้ารถถูกทดสอบมลพิษอยู่

สาขาการแพทย์ - Christoph Helmchen, Carina Palzer, Thomas Münte, Silke Anders และ Andreas Sprenger จากเยอรมนี, การค้นพบว่าถ้าเราคันที่ซีกซ้ายของร่างกาย เราบรรเทาได้ด้วยการจ้องเข้าไปในกระจกแล้วเกาที่ซีกขวาแทน (และในทางกลับกันด้วย)

สาขาจิตวิทยา -  Evelyne Debey, Maarten De Schryver, Gordon Logan, Kristina Suchotzki และ Bruno Verschuere จากเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา, การสอบถามคนที่โกหกพันคน ว่าเค้าโกหกบ่อยแค่ไหน แล้วก็มาคิดว่าจะเชื่อคำตอบเหล่านั้นดีมั้ย

สาขาสันติภาพ - Gordon Pennycook, James Allan Cheyne, Nathaniel Barr, Derek Koehler และ Jonathan Fugelsang จากแคนาดา และสหรัฐอเมริกา, การศึกษาการรับรู้และตีความคำคมที่ดูดีแบบปลอมๆ

สาขาชีววิทยา Charles Foster จากสหราชอาณาจักร, ผู้อาศัยอยู่ในป่าและใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์หลายชนิดเช่น แบดเจอร์ นาก กวาง จิ้งจอกและนก และ Thomas Thwaites, ผู้ดัดแปลงแขนขาตัวเองให้เดินเหมือนแพะ และใช้ชีวิตในท้องทุ่งกับฝูงแพะ

สาขาวรรณกรรม - Fredrik Sjoberg จากสวีเดน, ผลงานหนังสืออัตชีวประวัติสามเล่มเกี่ยวกับความสุขในการสะสมแมลงวันที่ตายแล้วกับแมลงวันที่ยังไม่ตาย

สาขาประสาทรับรู้ - Atsuki Higashiyama และ Kohei Adachi จากญี่ปุ่น, การศึกษาว่าเราจะมองเห็นขนาดของวัตถุและระยะทางเปลี่ยนไปหรือไม่เมื่อมองลอดหว่างขา

สำหรับรางวัลอิกโนเบลนี้ เคยมีคนไทยที่ได้รับรางวัลเช่นกัน เมื่อปีที่ผ่านมา ในการประกาศรางวัลครั้งที่ 25 ในสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้มอบรางวัลให้แก่กองบัญชาการตำรวจนครบาลของไทย สืบเนื่องมาจากการออกนโยบายให้เงินพิเศษแก่ตำรวจที่ร่วมด้วยช่วยกันปราบปรามสินบน

และเมื่อปี 2556 ตำรวจไทยก็เคยได้รับรางวัลจากการทำให้การตบมือในที่สาธารณะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย....

 

ตัวอย่างวิดีโอของชายผู้ใช้ชีวิตแบบแพะ จนได้รับรางวัล


 ขอบคุณ SMH.com และ เพจวิทย์เหี้ยๆ