posttoday

ลาวผุดแผนพัฒนารถไฟรับยุทธศาตร์เชื่อมไทย-จีน

18 พฤศจิกายน 2557

แผนการเชื่อมระบบรางระหว่างไทยกับจีนทำให้ลาวถูกพูดถึงอีกครั้งในฐานะจุดเชื่อมต่อที่ขาดไม่ได้

แผนการเชื่อมระบบรางระหว่างไทยกับจีนทำให้ลาวถูกพูดถึงอีกครั้งในฐานะจุดเชื่อมต่อที่ขาดไม่ได้

ข้อตกลงการเชื่อมต่อทางรถไฟฟ้าระหว่างจีนกับไทย ซึ่งจะกลายเป็นทางสำหรับการเคลื่อนย้านสินค้าและคนจากกรุงเทพฯกับภาคใต้ของจีน นับมีความหมายสำหรับโอกาสทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นความตกลงระหว่างไทยก็จีนแต่ลาวที่ถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญที่จะขาดไปไม่ได้

ในปัจจุบัน  ระบบรางในลาวยังถือว่าเล็กมากและถือว่ายังเป็นของใหม่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านชายฝั่งแม่น้ำโขง โดยลาวเพิ่มเริ่มมีรถไฟเมื่อปี 2009 ที่ผ่านมา และมีระยะทางเพียง 3.5 ก.ม. ระหว่างจ. หนองคายของฝั่งไทยกับสถานีท่านาแร้ง บริเวณชานเวียงจันทน์

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการขนส่งระหว่างฝั่งไทยกับท่านาแร้งคึกคักขึ้นจากการค้าที่ขยายตัว ด้านรัฐบาลเวียงจันทน์ตั้งความหวังว่าที่จะออกโครงการปรับปรุงให้สถานีดังกล่าวรองรับผู้โดยสารและสินค้าจากฝั่งไทยได้มากขึ้น

แผนการดังกล่าวยังรวมถึงการขยายทางรถไฟเพิ่มอีก 2 รางอีกด้วย โดยทางแรกจะเป็นจะวางพาดแนวเหนือใต้ และอีกทางจะวางพาดตะวันออกตะวันตก

ด้าน สมสะพง ลัดสะพง ผู้ว่าการรถไฟลาว กล่าวว่า เป้าหมายหลังจากขยายทางรถไฟในลาวคือการเชื่อมต่อลาวกับท่าเรือผ่านระบบราง เนื่องจากลาวไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงจำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อทางบกเพื่อใช้ประเทศเพื่อบ้านเป็นประตู

"เราต้องการระบบรางเพื่อหาทางออกสู่ทะเล" ลัดสะพง กล่าว

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวมีขึ้นในขณะเดียวกับที่ ไทยกับจีนบรรจุการเจรจาความร่วมมือรถการสร้างทางเชื่อมต่อรถไฟระหว่างกัน ซึ่งลาวถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญที่ขาดไปไม่ได้ ไม่เฉพาะแต่จุดเชื่อมต่อระหว่างไทยกับจีนเท่านั้น แต่มีความหมายสำหรับการเชื่อมต่อโลกเข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางจีนกำลังมีโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟข้ามทวีปกับทางฝั่งยุโรป

"เศรษฐกิจไทยจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมต่อระบบรางในระดับภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น และผลประโยชน์ดังกล่าวจะตกอยู่กับลาวด้วยเช่นกัน" ยาสุชิ เนกิชิ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ในไทย กล่าวพร้อมเสริมว่า ลาวมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและมีสินค้าเกษตรที่หลากหลาย การเชื่อมต่อลาวกับเพื่อนบ้านจะยิ่งเป็นการสนับสนุนศักยภาพดังกล่าว

รายงานระบุทิ้งท้ายไว้ว่า ปฏิเสธไม่ได้การขนส่งทางรางมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในการพัฒนาเศรษฐกิจลาว แต่ในฐานะจุดเชื่อมต่อที่ขาดไปไม่ได้สำหรับระบบรางในระดับภูมิภาค การพัฒนาระบบรางในลาวจึงกลายเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งต่อาเซียนและต่อจีนด้วย

ที่มา : แชนนัลนิวส์ เอเชีย