posttoday

"พ่อชาวซีเรีย"ร้องรองปลัดยธ.วอนช่วยลูกถูกขังที่ สตม.

11 กันยายน 2560

พ่อชาวซีเรียเข้าร้องต่อรองปลัดยุติธรรม ขอให้กรมคุ้มครองสิทธิ์ ช่วยเหลือลูกชาย ที่ยังอยู่ในส่วนกักขัง สตม.

พ่อชาวซีเรียเข้าร้องต่อรองปลัดยุติธรรม ขอให้กรมคุ้มครองสิทธิ์ ช่วยเหลือลูกชาย ที่ยังอยู่ในส่วนกักขัง สตม.

จากกรณีนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ อายุ 47 ปี ชาวซีเรีย พร้อมนายปัณชพัฒน์ เลิศธีรเรืองกุล ล่ามแปลภาษา เข้าพบ พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อร้องขอความเป็นธรรม โดนอาสาตำรวจ ชี้เป้าให้ตำรวจ สน.ลุมพินี จับกุมนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด วาเอล ลูกชาย อายุ 23 ปี ชาวซีเรีย ไปดำเนินคดีข้อหาอยู่อาศัยในประเทศไทยเกินระยะเวลาที่กำหนด และโดนรีไถเงินไปกว่า 5.5 แสนบาทแลกปล่อยตัว แต่กลับถูกส่งตัวไปสถานกักตัวคนต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สวนพลู กทม. เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่าน

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ศูนย์บริการร่วม กระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 ศูนย์ราชการอาคารเอ ถนนแจ้งวัฒน์ กทม.นายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ พร้อมด้วยนายปัณชพัฒน์ เดินทางมายื่นหนังสือถึง นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทำเรื่องช่วยเหลือนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด วาเอล ลูกชายนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ ออกจากห้องขังตำรวจ สตม. ก่อนเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม กระทรวงยุติธรรมจะมารับเอกสารและให้คำปรึกษา

ด้านนายปัณชพัฒน์ เผยว่า นายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ มายื่นหนังสือร้องกระทรวงยุติธรรม และกรมคุ้มครองสิทธิฯ ให้ช่วยเหลือลูกชายนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ ที่ขณะนี้ยังถูกขังอยู่ในห้องขังของ ตำรวจ สตม. ย่านสวนพลู เพื่อรอการผลักดันกลับประเทศซีเรีย ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ประเทศซีเรียยังมีสงครามอยู่ ประกอบกับผู้เสียหายไม่มีญาตพี่น้องอยู่ที่นั่นแล้ว หากผลักดันกลับไปซีเรีย เท่ากับเป็นการส่งเค้าสู่แดนประหาร ถ้าส่งไปประเทศที่ 3 ก็ต้องรอประเทศนั้นๆตอบรับว่าจะรับเข้าประเทศไหม

"จึงพาครอบครัวผู้เสียหายมาร้องให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ประสานกับทาง ผบช.สตม.ที่มีอำนาจในการะจารณาให้ปล่อยตัวลูกชายนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ ใน โดยอยากให้ตำรวจ สตม. สามารถตั้งเงื่อนไขในการปล่อยตัว ไม่ว่าจะวางเงินประกันตัว หรือให้มารายตัวทุกๆเดือน จนกว่ากระบวนการผลักดันออกนอกประเทศจะเสร็จสิ้น ซึ่งการกักขังอยู่ขณะนี้ไม่เป็นการดีต่อรัฐสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลจำนวนมาก และอีกทั้งตัวผู้เสียหาย มีการตรวจสอบและ UNSCR ว่าครอบครัวนายอัลฮลาบิ โมฮัมหมัด ยาสเซอร์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับก่อการร้าย และไม่ได้เป็นภัยต่อความมั่นคง" นายปัณชพัฒน์ กล่าว