posttoday

เปิดไทม์ไลน์ ‘สมรสเท่าเทียม’ จากถูกปฏิเสธสู่การยอมรับอย่างเท่าเทียม

28 มีนาคม 2567

พาย้อนไทม์ไลน์การต่อสู้ กว่าคนไทยจะมาถึงวันนี้ ที่อีกอึดใจเดียวจะได้ ‘สมรสเท่าเทียม’ ซึ่งจะเป็นประเทศแรกในอาเซียน และเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย!

ปี 2555

  • นที ธีระโรจน์พงษ์ยื่นคำร้อง หลังถูกปฏิเสธการสมรสที่ที่ว่าการ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
  • ภาคประชาชนเริ่มศึกษาและทำงานเรื่องการคุ้มครองครอบครัวเพศหลากหลาย
  • เกิดข้อเสนอแก้ไขปัญหาเพื่อการจัดตั้ง ครอบครัวเพศเดียวกัน

 

ปี 2556

  • เกิดการริเริ่มร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  • คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก) ร่วมกับภาคประชาสังคมเริ่ม พ.ร.บ.คู่ชีวิต (ภาคประชาชน)

 

ปี 2560 

  • ภาคประชาสังคมจัดงานวัน IDAHOT โดยเสนอเรื่อง Rainbow Family ได้รับการสนับสนุนจาก World Bank ในครั้งนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้เสนอ พ.ร.บ.คู่ชีวิตและมีภาคประชาสังคมส่วนหนึ่งออกแถลงการสนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเอางานวิทยานิพนธ์ของชวินโรจน์ ธีรพัชรพร

 

ปี 2561

  • ภาคประชาชนจัดงานครบรอบ 10 ปี วันสิทธิความหลากลหายทางเพศ ยื่นข้อเสนอสมรสเท่าเทียมให้กับ 10 พรรคการเมือง โดยใช้งานวิจัย (ร่าง) สมรสเท่าเทียมของ ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร จนนำมาใช้เป็นเนื้อหาหลักของการร่างการสมรสเท่าเทียมของพรรคการเมืองและภาคประชาชน

 

ปี 2563

  • เพิ่มทรัพย์และพวงเพชร ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเศจากการที่เพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสไม่ได้
  • 18 มิถุนายน ก้าวไกลยื่นเสนอร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่อสภาฯ
  • 8 กรกฎาคม ครม.มีมติเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต
  • พฤศจิกายน ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม บรรจุวาระเข้าประชุมสภาฯ

 

ปี 2564

  • 17 พฤศจิกายน ศาลรัฐฑรรมนูญมีคำวินิจฉัย สมรสได้แค่ระหว่าง ชาย-หญิง
  • 28 พฤศจิกายน กลุ่มภาคีสีรุ้งเพื่อการสมรสเท่าเทียมเปิดให้เข้าชื่อนำเสนอร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมภาคประชาชน ผ่าน www.support1448.org มีประชาชนลรายชื่อ 360,000 กว่ารายชื่อ

 

ปี 2565

  • 9 กุมภาพันธ์ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเข้าสู่วาระที่ 1 แต่สภามีมติให้ส่งให้ครม. ศึกษาก่อน 60 วัน
  • 29 มีนาคม ครม. มีมติไม่รับ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
  • 5 มิถุนายน ขบวนพาเหรดบางกอกนฤมิตไพรด์ เรียกร้องสมรสเท่าเทียม
  • 7 มิถุนายน ครม.เสนอ พ.ร.บ.คู่ชีวิตเข้าสภา
  • 16 มิถุนายน สภาฯผ่านร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมและร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต วาระ 1 บรรจุเข้าพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในสภาฯ

 

ปี 2566

  • 17 มีนาคม ยุบสภาฯ
  • 4 กรกฎาคม เปิดสภาฯ
  • 1 กันยายน ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมและร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตปัดตกจากสภาฯ เพราะไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาจากครม.ชุดใหม่ภายใน 60 วันหลังเปิดสภาชุดใหม่
  • 21 ธันวาคม สภาฯ รับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เสนอให้พิจารณา จำนนวน 4 ฉบับในวาระที่ 1 และตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาในวาระ 2 ก่อนนำกลับมาให้ที่ประชุมเห็นชอบ
  • นับหนึ่งเสนอสมรสเท่าเทียมเข้าสภาอีกครั้ง

 

ปี 2567

  • 4 มกราคม เริ่มพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
  • 14 มีนาคม กรรมาธิการ รวมทั้งกรรมาธิการภาคประชาชนและที่ปรึกษาภาคประชาชนพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมแล้วเสร็จ
  • 27 มีนาคม นำร่างพ.ร.บ.เข้าสภาฯ และสภาฯเห็นชอบ (เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย) พร้อมนำสู่วุฒิสภาต่อไป

 

ที่มา

FB : บางกอกไพรด์