posttoday

เปิดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ! ผ่าน 2 ปี มี 30 เมือง ลำปางยืน 1 พัฒนา Smart City

23 เมษายน 2567

สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และ ร่วมประเมินแผนการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน เผยผ่านมา 2 ปี มีเมืองอัจฉริยะที่ได้รับตราสัญลักษณ์ฯ แล้ว จำนวน 30 เมือง ขณะที่ลำปาง ยืนเป็นอันดับ 1 พัฒนาความอัจฉริยะของเมือง

depa และ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประชุมคณะทำงานประเมินแผนการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน เพื่อคัดกรอง 4 ข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พร้อมรับทราบผลการจัดทำดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันเมืองอัจฉริยะ (Thailand Smart City Competitiveness Index) และผลการดำเนินโครงการของเมืองอัจฉริยะที่ได้รับตราสัญลักษณ์ฯ แล้ว จำนวน 30 เมือง   

 

เปิดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ! ผ่าน 2 ปี มี 30 เมือง ลำปางยืน 1 พัฒนา Smart City

โดยคณะทำงานฯ ร่วมพิจารณาข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 4 ข้อเสนอ มีเมืองที่ผ่านการพิจารณาและให้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ จำนวน 2 ข้อเสนอ ประกอบด้วย โครงการเจ้าฟ้า ทินีคอน วัลเลย์ โดย บริษัท ภูเก็ตภิวัตน์ จำกัด จังหวัดภูเก็ต และแม่เหียะเมืองอัจฉริยะ โดย เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ 

ทั้งนี้ มีข้อเสนอที่เห็นชอบในหลักการและให้ทบทวนรายละเอียดก่อนนำเข้าคณะทำงานอีกครั้ง จำนวน 2 ข้อเสนอ ได้แก่ โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดย เทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และเมืองโคราชอัจฉริยะ โดย เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

เปิดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ! ผ่าน 2 ปี มี 30 เมือง ลำปางยืน 1 พัฒนา Smart City

สำหรับผลการดำเนินโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับตราสัญลักษณ์ฯ ทั้ง 30 เมือง ในปี 2564 -2566  พบว่าภาพรวมดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 27.57  รวมมูลค่าการลงทุน 6,842.97 ล้านบาท และเมืองที่มีความคืบหน้าสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ 

1 แม่เมาะเมืองน่าอยู่ จังหวัดลำปาง ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 96.67 จากแผน 
2 พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม โดยกรุงเทพมหานคร มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 89.38 จากแผน 
3 สามย่านสมาร์ทซิตี้ มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 85.03 จากแผน 

เปิดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ! ผ่าน 2 ปี มี 30 เมือง ลำปางยืน 1 พัฒนา Smart City
 

ทั้งนี้จากการติดตามพบว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การดำเนินล่าช้ากว่าแผน ได้แก่ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย และ การขาดแคลนบุคลากร ตามลำดับ

นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานเรื่องการจัดทำดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันเมืองอัจฉริยะ (Thailand Smart City Competitiveness Index) ที่ประเมินจากข้อมูลการติดตามความคืบหน้า และคุณภาพของการจัดทำแผนฯ เพื่อจัดอันดับเมืองอัจฉริยะของประเทศ ซึ่งดัชนีดังกล่าวสะท้อนถึงศักยภาพในการขับเคลื่อนแผนฯไปสู่การปฎิบัติ และคาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เมืองตื่นตัวในการพัฒนาเมืองยิ่งขึ้น โดยจะจัดแถลงผลการจัดอันดับในเร็ววันนี้

เปิดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ! ผ่าน 2 ปี มี 30 เมือง ลำปางยืน 1 พัฒนา Smart City