posttoday

เปิดสถิติลงมติ 7 สนช. ลาถูกต้องไม่มีใครพ้นสมาชิกภาพ

24 กุมภาพันธ์ 2560

เลขาวุฒิสภา แจงสถิติลงมติ 7 สนช.ไม่มีใครขาดลงมติเกิน 421 ครั้ง เพราะลาถูกต้อง ไม่ขาดสมาชิกภาพ

เลขาวุฒิสภา แจงสถิติลงมติ 7 สนช.ไม่มีใครขาดลงมติเกิน 421 ครั้ง เพราะลาถูกต้อง ไม่ขาดสมาชิกภาพ   

นางวรารัตน์ อติแพทย์ เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) แถลงว่าได้รับมอบหมายจากนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ให้มาชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการลงมติของสมาชิก 7 สนช. โดยจากสถิติการลงมติในรอบปี 59 ตั้งวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.59 มีการลงมติจำนวน 1,264 ครั้ง ตามข้อบังคับ สมาชิกจะขาดลงมติจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 421 ครั้ง ซึ่งทั้ง 7 คนมีได้รับอนุญาตลาประชุมจึงไม่ถือว่าขาดสมาชิกภาพ 

ในเอกสารแถลงข่าวเรื่องสถิติการลงมติสมาชิกสนช.ทั้ง 7 คน ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 59  มีจำนวนลงมติ 1,264 ครั้ง โดยมีสมาชิกทั้ง 7 คนได้แก่พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง มาลงมติ 398  ครั้ง ไม่ได้ลง  27 ครั้ง และมีมติที่ไม่ได้นับเนื่องจากได้รับอนุญาตลา  839 ครั้ง  นายดิสทัต โหตระกิตย์ มาลงมติ 214 ครั้ง ไม่ลง 3 ครั้ง แต่มติที่ไม่นับ 1047 ครั้ง พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา มาลงมติ 428 ไม่ลง 4 ครั้ง มติที่ไม่ได้นับ 832 ครั้ง

พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ   230 ครั้ง  ไม่ลง 0 ครั้ง จำนวนมติที่ไม่นับ 1034 ครั้ง นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ  387 ครั้ง  ไม่ลงมติ 0 ครั้ง จำนวนมติไม่นับ 877 ครั้ง  นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ลงมติ 656 ครั้ง ไม่ลง19 ครั้ง จำนวนมติที่ไม่นับ 589 ครั้ง และ พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ ลงมติ 646 ไม่ลง 0 ครั้ง จำนวนมติไม่นับ 618 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สถิติการลงมติจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภานำมาเปิดเผย เป็นวงรอบ 1 ปี ต่างจาก ของไอลอว์ ที่เปิดเผยสถิติ ตามข้อบังคับ สนช. ข้อที่ 82 กำหนดให้สมาชิกที่ไม่แสดงตนเกิน 1ใน 3 ในวงรอบ 90 วัน จะต้องพ้นสมาชิกภาพ ตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ เว้นแต่มีการลาประชุม ทำให้ผลการนับจำนวนการลาประชุมของสมาชิกสนช.ออกมาไม่ตรงกัน

 

เปิดสถิติลงมติ 7 สนช. ลาถูกต้องไม่มีใครพ้นสมาชิกภาพ


นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาคำร้องให้ตรวจสอบการขาดประชุมและการลมติของ 7 สมาชิกสนช.ว่า ประชุมครั้งนี้เป็นการพูดคุยถึงสถิติการลาประชุมและการลงมติของสนช.ซึ่งเป็นข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว

ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาทำงาน 30 วัน  แต่คิดว่าคงใช้เวลาไม่ถึง เนื่องจากได้รับการประสานงานจากสมาชิกสนช.เกือบทั้ง 7 คนแล้วว่าอยากให้เร่งดำเนินการ และชี้แจงข้อมูลให้สังคมได้รับความกระจ่างว่าเหตุใดจึงไม่มาประชุม และไม่มาลงมติ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ คือ ร.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร สนช.เป็นประธาน นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิกสนช.เป็นอนุกรรมการ ซึ่งทั้ง 3 คนที่แต่งตั้งก็เป็น สมาชิกสนช.ที่ทำงานด้านกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้วทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ อีกทั้งหลักปฏิบัติไม่มีการตั้งคนนอกมาตรวจสอบตรวจสอบจริยธรรม

นายพีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ ที่เกษียณราชการแล้ว มีตัวเลขการมาประชุมดีขึ้นมาก และรวมทั้งปีมีข้อมูลตัวเลขเกินครึ่งแล้ว โดยพล.ร.อ.พัลลภนั้น  เห็นท่านมาประชุมทุกครั้ง ดังนั้นคณะกรรมการจริยธรรมจะไปนำเอาข้อมูลก่อนดำรงตำแหน่ง ขณะดำรงตำแหน่ง และขณะที่พ้นตำแหน่งนำมาพิจารณาประกอบด้วย