posttoday

อภิสิทธิ์ยก 3 เหตุผล ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

27 กรกฎาคม 2559

"อภิสิทธิ์" ยก 3 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญชี้ไม่ตอบโจทย์พัฒนาประเทศ ระบุหากไม่ผ่านประชามติพร้อมนุน "บิ๊กตู่"นำฉบับปี50 มาปัดฝุ่น

"อภิสิทธิ์" ยก 3 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญชี้ไม่ตอบโจทย์พัฒนาประเทศ ระบุหากไม่ผ่านประชามติพร้อมนุน "บิ๊กตู่"นำฉบับปี50 มาปัดฝุ่น

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้แถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในนามหัวหน้าพรรค และยึดจุดยืนอุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์โดยระบุว่า ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ 1.ทิศทางพัฒนาไม่ชัดเจน  2.การปราบโกงยังมีช่องโหว่  และ 3. ที่มา สว. เป็นประเด็นขัดแย้งในอนาคต 

นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า ตอนที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ  ตนเคยแถลงยืนยันว่าไม่รับคำถามพ่วง  วันนี้จึงไม่ต้องพูดถึงอีก  และใช้คำว่าไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ  และยังต้องการเห็นทางเลือกที่ชัดเจนว่าถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะเป็นยังไง  รวมทั้งต้องการเห็นบรรยากาศการเมืองไม่นำไปสู่ความวุ่นวายขัดแย้ง  เพราะไม่ต้องการเป็นส่วนเติมให้เกิดความขัดแย้งนั้น

"วันนี้ไม่อาจเป็นมติพรรคเพราะประชาธิปัตย์ประชุมพรรคไม่ได้เช่นเดียวกับพรรคอื่น ๆ  แต่ผมไม่มองว่าสิ่งที่จะแถลงเป็นความคิดเห็นส่วนตัว  เป็นจุดยืนที่แสดงในฐานะหัวหน้าพรรคบนพื้นฐานอุดมการณ์พรรคตั้งแต่ก่อตั้งมาในปี 2479  จึงไม่ใช่เรื่องชอบไม่ชอบส่วนตัว  แต่เป็นการสานต่ออุดมการณ์ที่สำคัญ  ดังนั้นจุดยืนที่แถลงจึงถือเป็นการสืบสานจุดยืนอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สภาพปัญหาที่ประเทศชาติต้องได้รับการแก้ไข  สรุปได้สามประเด็นหลัก หนึ่ง รัฐธรรมนูญจะส่งผลให้ทิศทางประเทศเดินไปทางใด  และเป้าหมายคือทำให้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในประเทศโดยเฉพาะคนด้อยโอกาสหรือไม่  สอง  หยุดการทุจริตคอรับชั่นอย่างไร  และ สาม  คนไทยไม่ต้องการเห็นวัฎจักรความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งการรัฐประหาร  การชุมชนประท้วง  การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น  นี่คือโจทย์ที่กำหนท่าทีต่อรัฐธรรมนูญของประเทศ

"เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ก็อยู่ในใจผู้ร่าง ของ คสช. รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ที่ต้องประเมินคือแม้ตั้งใจแก้ปัญหาทั้งสาม รัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาได้ตอบโจทย์เหล่านี้เพียงพอถูกต้องหรือไม่"หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า  สำหรับตน  ข้อแรก  ทิศทางการพัฒนาประเทศที่จะยั่งยืน ตอบสนองความต้องการทุกคนในประเทศได้  หนีไม่พ้นการอาศัยหลักการประชาธิปไตย  ตนจะไม่พูดถึงระบบเลือกตั้ง  คนนอกคนในหรือวาทกรรมใด ๆ  แต่ความหมายคือต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตองประเทศมากน้อยแค่ไหน  ถ้าประชาชนยากลำบากมีหลักประกันให้เขาได้สวัสดิการ  ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ์จากรัฐ  จาคนที่มีอำนาจในสังคมยังไง  นอกจากนั้นจะต้องมีการกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน  ไปสู่ท้องถิ่น  ซึ่งนับวันปัญหาและความต้องการหลากหลายขึ้นสามารถแก้ปัญหาของตนเองด้วย

"เรียนว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นไม่ได้เดินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้  ทั้งหมวดสิทธิเสรีภาพและบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมให้หลักประกันน้อยว่าปี 2550  ไม่ว่าสิทธิของผู้บริโภค  สิทธิชุมชน  สิ่งแวดล้อม  หรือความช่วยเหลือด้านกฎหมาย  หรือแม้แต่สวัสดิการต่าง ๆ ยังไม่สามารถเขียนให้เกิดวามก้าวหน้าชัดเจน โดยเฉพาะวิธีเขียนเปิดโอกาสให้รัฐบาลนอนาคตสามารถออกฎหมายมาตีกรอบมาจำกัดขอบเขตการมีส่วนร่วมและบทบาทการแสดงออกของประชาชนทั้งผ่านการเลือกตั้ง และอื่น ๆ ที่จะกำหนดนโยบายสามารถก็ถูกจำกัดโดยบทบาทของภาคราชการ  ทำให้มองว่าโอกาสที่รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ  ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน และมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของโลกได้ยากมาก

"จึงมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี่ไม่สามารถตบโจทย์ให้ทิศทางการพัฒนาประเทศก้าวพ้นสภาพปัญหาต่างๆ  ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องนามธรรม  อยากจะบอกว่าสภาพเศรษฐกิจขณะนี้และบางยุคที่ผ่านมาน่าจะไม่ใช่นามธรรม  รัฐบาลนี้พยายามกระตุนเศรษฐกิจไม่รู้กี่รอบ  ภาใต้ความกดดันของเศรษฐกิจโลก  แต่ไม่ว่าธุรกิจใหญ่กลางเล็ก  การส่งออก  ก็ได้รับข้อจำกัดกับเงื่อนไข  ที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของประชาชนได้ดีกว่า"นายอภิสิทธิ์กล่าว

ประเด็นที่สอง  ความขัดแย้งในสังคมต้องแก้ไขโดยกระบวนการหลัก  คือ กระบวนการทางการเมือง  และกระบวนการยุติธรรม  ระบอบประชาธิไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้งและเสียงข้างมาก  แต่กำหนดบทบาทองค์กรต่าง ๆ ในการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม  หลักง่าย ๆ คือประชาชนกำหนดคนมาบริหารประเทศ  แต่ต้องไม่บริหารตามใจลุแก่อำนาจโดยไม่ฝืนกับเจตนารมย์ประชาชน  ปัญหาสำคัญคือวางน้ำหนักการตรวจสอบถ่วงดุล  หรือไปคาดหวังจาก สว. 250 คนที่มาจากการเลือกกันเองในบทถาวรและการการคัดเลือกและแต่งตั้งในบทเฉพาะกาล  ซึ่งพูดไม่ได้เต็มปากคำว่ามาจากตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง 

"มองว่านอกจากจะไม่แก้ปัญหา  ยังสร้างคู่ขัดแย้งใหม่ทางการเมืองใน 250 คนนี้  คือไม่ว่า สว. ชุดนี้จะสนับสนุนคนเสียงข้างมากหรือน้อยมาเป็นนายกฯก็ล้วนจะเป็นปมเกิดความขัดแย้งใหม่ๆ ทั้งสิ้น  ที่สำคัญ  กติกาที่วางมาครั้งนี้ยังแก้ยากมาก  ไม่ใช่เฉพาะจากทุกพรรคการเมืองเท่านั้น  แต่ต้องเสียงหนึ่งในสามจากคนที่มาจากการคัดเลือก สรรหา  (สว.) เหล่านี้ ทำให้ความขัดแย้งแก้ไขไม่ได้"นายอภิสิทธิ์กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่สำคัญแนวทางประชามติก็ตึงเครียด  มีการจับกุม  มีวิธีไม่ปกติจากหลาย ๆ ฝ่าย นำสู่ประเด็นโต้แย้งไม่จบไม่สิ้น  ว่าฝ่ายที่มีความเห็นหลากหลายไม่ได้รับความเป็นธรรม  มีพื้นที่แสดงออกหรือไม่  ทำให้ความชอบธรรมไม่เกิดอย่างที่คนเสนอให้ทำประชามติคาดหวัง  หมายความว่าแทนที่จะแก้ความขัดแย้งจะกลายเป็นเงื่อนไขสู่ความขัดแย้งที่ไม่ต่างจากอดีตทั้งช่วงสิบปีหรือห่างไกลกว่านั้น  โจทย์ที่จะมาแก้ความขัดแย้งจึงเกรงว่าไม่บรรลุ

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่าประเด็นที่สาม การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รับชัน  จุดนี้ถูกหยิบยกมาว่าเป็นจุดเด่น  และตนก็สนับสนุนบทบัญญัติหลายมาตรา เช่นการเพิ่มโทษ  การเข้มงวดกวดขันคุณสมบัติต้องห้ามของผู้เข้ามาสู่การเมือง  แต่ต้องมองให้ครบวงจร  เราจะเพิ่มโทษอย่างไรก็ตาม  การจับการทุจริตต้องเริ่มจากบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมที่เปิดให้ประชาชนหาข้อมูลตรวจสอบถ่วงดุลได้เต็มที่  ไม่งั้นจะไม่รู้ว่ามีใครทุจริตไปโกงที่ไหนยังไง  และที่สำคัญเปลี่ยนวิธีการการจัดการนักการเมืองโกง  จากเดิม ถอดถอน  และคดีอาญา ก็ยกเลิกการถอดถอน  พึ่งเพียง ปปช. กับศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีในรัฐธรรมนูญเดิม 

ปัญหาคือฉบับใหม่กลับทำให้สององค์กรนี้อ่อนแอลงในการปราบปรามคอรับชั่น  กรณีของ ปปช. ต้องไม่ลืมว่าคนมาชี้เป็นชี้ตายได้ต้องอิสระและเที่ยงตรง  ในอดีตช่องทางตรวจสอบ ปปช. ไม่ยาก  แต่ฉบับใหม่ต้องยื่นเรื่องผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งก็เป็นคนของรัฐบาล  และมีดุลพินิจสิทธิ์ขาดว่าจะส่งศาลดำเนินการหรือไม่  ประเด็นนี้กระทบต่อความเป็นอิสระและความเข้มแข้งของฝ่ายตรวจสอบอย่างยิ่ง  เพราะเปิดช่องทางการต่อรอง  ทำให้ฝ่ายตรวจสอบไม่มีช่องทางทำอะไรได้

ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญา  แม้อดีตเราบ่นมาก  แต่ก็เป็นศาลที่จำคุกนักการเมืองได้  และศักดิ์สิทธิ์พอสมควร  แต่ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการนี้  เดิมถ้าพิพากษาว่าใครผิดใครโกง  ผู้ถูกลงโทษจะอุทธรณ์ได้เมื่อมีหลักฐานใหม่เท่านั้น  และต้องอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา  พูดได้ว่านักการเมืองจะกลัวศาลนี้เป็นพิเศษ  แต่ฉบับใหม่กลับทำให้การอุทธรณ์ง่ายขึ้น  และยังไม่กำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ไว้  และการวินิจฉัยอุทธรณ์โดยองค์คณะใหม่ไม่ใช่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาทั้งคณะ  พูดง่าย ๆ แพ้ครั้งแรกก็ลุ้นครั้งที่สองได้อีกครั้ง

"คาดว่าถ้าร่างนี้ผ่าน  คนกลุ่มแรกที่ได้ประโยชน์คือกลุ่มคนที่โดนคดีจำนำข้าว  เพราะคำตัดสินจะออกมาหลังประกาศใช้อีกเดือนสองเดือน  ถ้าผ่านก็ใช้สิทธิ์ได้ทันที ทั้งสามโจทย์จึงให้คำตอบว่าผมไม่รบร่างรัฐธรรมนูญนี้ ขอย้ำว่าไม่เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง หรือเรื่องพรรคการเมือง  แต่ไม่รับเพราะไม่ตอบโจทย์ประเทศ  ไม่เป็นกติกาถาวรที่เอื้อให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากสภาพเดิม"นายอภิสิทธิ์กล่าว

นายอภิสทิธิ์กล่าวอีกว่า  ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเกิดอะไรขึ้น ตนไม่อาจรับร่างนี้ได้เพียงเพราะกลัวว่าจะได้สิ่งที่แย่กว่า  กลับมองว่าถ้าไม่ผ่านประเทศมีโอกาส  การบอกว่ารับหรือไม่รับ  ไม่ใช่เพราะเชียร์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทางการเมือง  และไม่ยอมรับเงื่อนไขว่าถ้าไม่ผ่านจะมีฝ่ายใดมาสร้างความวุ่นวาย  ตรงกันข้ามตนกลับสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. มาจัดทำฉบับใหม่ตามโรดแมปชั่วคราวเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  เพราะถึงไม่ผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ก็ยังต้องรับผิดชอบปัญหาบ้านเมืองและเดินตามโรดแมป  แต่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ให้รัฐธรรมนูญฉบับที่ดีกว่าแก่สังคม 

เชื่อว่าอย่างไรเสีย พล.อ.ประยุทธ์ต้องตระหนักว่าที่ไม่ผ่านมีสาเหตุอย่างไร แต่คงไม่เขียนคนเดียว ต้องทบทวนจุดแข็งจุดอ่อน  ฟังเสียงสังคม โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป้าหมาย เรื่องปฏิรูป  แก้ปัญญาความขัดแย้ง

ขอเสนอว่าจุดเริ่มต้นน่าจะเป็น รัฐธรรมนูญปี 50  เพราะหนึ่ง  เคยผ่านประชามติมาแล้ว  เวลาจะแก้ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยว่าควรกลับไปถามประชาชนให้แน่ใจก่อน  ต้องกลับถามความเห็นของประชาชนเพราะมาจากประชามติ  และเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี50 ไม่ใช่เงื่อนไขรัฐประหาร  และจำได้ว่าคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 5 รัฐประหารแล้วยังไม่ยกเลิก รัฐธรรมนูญปี 50  แค่ขอให้ยุติชั่วคราว แสดงว่า คสช. ก็ไม่มองว่าปัญหามาจาก รัฐธรรมนูญนี้  สามบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพฉบับ 50 ชัดเจน  แต่การนำฉบับนี้มาเป็นหลัก  พล.อ.ประยุทธ์ควรกำหนดเป้ามายการปรับปรุงชัด  เช่นความเข้มข้นการปราบทุจริต  มีอะไรแก้ปัญหาความขัดแย้งในอดีต  รวมไปถึงการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น  และสามารถทำควบคู่กับการดำเนินการปฏิรูปที่สำคัญก่อนเลือกตั้ง  ไม่ต้องโยงไปสู่การมีกฎหมาย  การมีคณะกรรมการปฏิรูป

"มองว่าถ้าไม่ผ่าน  สังคมส่วนใหญ่ไม่ต้องการความวุ่นวาย  แต่มองว่าเปิดโอกาสใหม่ของประเทศเถอะ  และช่วยให้หลุดพ้นปัญหาหล่มเดิมที่ติดกับดักมาสิบปี"นายอภิสิทธิ์กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าหลายคนสนใจการแถลงจุดยืนวันนี้  คงมีคำถามประเด็นการเมืองมามาย  แต่เรามีโอกาสสร้างก้าวใหม่แก่ประเทศไทย  ปชป. ก็ต้องการเริ่มต้นก้าวแรกที่เป็นก้าวใหม่ในการเมืองใหม่  ต้องพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ตามหลักการอุดมการณ์  ประโยชน์ส่วนรวม  ประโยชน์ประเทศ  เอาข้อเท็จจริงเหตุผลมาพูด  ไม่ได้เอาเพราะชอบคนนี้ก็เอาตาม  ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามพูดต้องคัดค้านทะเลาะตลอดเวลา  การเมืองไทยสังคมไทยจะไม่มีวันหลุดพ้นจากวิกฤติผ่านมา  ยืนยันว่าเอาเหตุผลสวนรวมมาว่ากัน  ไม่สนใจว่า คสช. นปช. จะพูดอะไร 

"จะไปสนใจว่าเพราะใครที่ใช้ไม่ได้พูดอะไรก็ใช้ไม่ได้ไม่ได้  เพราะขนาดนาฬิกาตายยังบอกเวลาตรงได้วันละสองครั้ง  คนที่ห่วงว่าเป็นการสมคบรวมหัวของนักการเมืองพรรคการเมือง  ขอบอกว่าไม่ใช่  และอุดมการณ์ของประชาธิปัตย์ก็ชัดเจน  นอกจากจะเน้นหลักกฎหมายเหตุผล  ประชาธิปไตยไม่สนับสนุนระบบเผด็จการแล้ว  อุดมการณ์เดิมคือ  ผมและพรรคไม่มีวันสมคบกับคนที่เคยโกงชาติ  และจะโกงอีกในอนาคตเด็ดขาด"นายอภิสิทธิ์กล่าว

จากนั้นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดบทว่าขอวันนี้ไม่ตอบคำถาม  ต้องการให้สังคมพิจารณาสาระสำคัญที่พูดก่อน  แล้วค่อยให้สัมภาษณ์ภายหลัง  โดยบอกปัดคำถามสื่อมวลชนที่ว่า  การแถลงจุดยืนลักษณะนี้อาจถูกมองว่าเป็นการหาทางลงให้ คสช. หากกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ  โดยกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า "จบข่าว"