posttoday

สนช.เห็นชอบหลักการ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม - พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

24 มิถุนายน 2559

มติสนช.เห็นชอบหลักการ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม - พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เสนอ กมธ.วิสามัญหาช่องเพิ่มบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ รมว.พลังงาน ห่วง เอ็นโอซี ใช้เงินเยอะมีอำนาจขาดถ่วงดุล

มติสนช.เห็นชอบหลักการ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม - พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม   เสนอ กมธ.วิสามัญหาช่องเพิ่มบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ   รมว.พลังงาน ห่วง เอ็นโอซี  ใช้เงินเยอะมีอำนาจขาดถ่วงดุล

วันที่ 24 มิ.ย. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  มีมติ  152 ต่อ 5 เสียง งดออกเสียง  16  เสียงเห็นชอบร่างพ.ร.บ. ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ... ) พ.ศ... และ มีมติ  154   ต่อ 2  งดออกเสียง 17 เสียง เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม  (ฉบับที่...) พ.ศ. พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณารายละเอียดในวาระ 2-3 ต่อไป

สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม  คือ การกำหนดเพิ่มจากเดิมที่การสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทาน มีการได้รับ สัญญาแบ่งผลผลติ หรือได้รับสัญญาจ้างสำรวจและผลผลิต รวมทั้งให้กำหนดให้ที่ใดสมควรที่จะดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบใดเป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ ครม.

ส่วนสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพื่อแก้ไขเพ่มเติม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 เพื่อเพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลติเป็นอีกระบบในการแสวงหาประโยชน์ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม นอกเหนือจากระบบการให้สัมปทาน สมควรกำหนดอัตราและหลักเกณฑ์ในการคำนวนณภาษีเงินได้ปิตรเลียมให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินการของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การแก้ไขพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการปิโตรเลียมมีความรัดกุมรอบคอบมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีการแก้ไขมาแล้ว 5 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ปัจจุบันการบริหารปิโตรเลียม ดำเนินการในลักษณะของสมดุลแห่งอำนาจ ไม่มีบุคคลใดหรือหน่วยงานใดหน่วยหนึ่ง มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งปัจจุบันมีการบริหารได้แก่ อำนาจสูงสุดคือคณะรัฐมนตรี  มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้อนุมัติในระดับคณะกรรมการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ให้ความเห็นชอบเบื้องต้น มีคณะกรรมการปิโตรเลียมซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกรวมด้วย เป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด ก่อนที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้ความเห็นชอบ นอจากนี้ในการประกาศต่างๆจะมีการรับฟังความเห็นภาคประชาชนในทุกขั้นตอน
แก้ 23 วรรค 1  

ด้านพล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์  สนช.  ในฐานะประธานกมธ.พลังงาน  อภิปรายว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการเรื่องพลังงานปิโตรเลียมที่ผ่านมาขาดการสื่อสารจากภาครัฐทำให้เกิดการประท้วงจากภาคประชาชนต้องการให้เปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงนำมาสู่การปรับปรุงพ.ร.บ. 2 ฉบับนี้ ซึ่งจะเห็นว่าเราใช้ระบบสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2514  ทั้งที่ นานาชาติใช้วิธีหลากหลายเพิ่มขึ้นมากทั้ง แบ่งปันผลผลิต จ้างสำรวจ ซึ่งเป็นทางเลือกให้ประชาชนอีกทั้งระบบสัมปทานเดิมมีช่องโหว่จึงสมควรปรับปรุง  นอกจากนี้ ร่างพ.ร.บ.ที่เสนอมานี้ ที่ผ่านทางกมธ.ได้มีการไปไปให้ห้ข้อมูลกับทางภาครัฐ ร่วมกับภาคประชาชน  ซึ่งทาง สนช.เองก็ได้ให้ความเห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ไปตั้งแต่ เมื่อเดือน พ.ค. 2558 

พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ สนช.  กล่าวว่า  การเปิดสัมปทานรอบ 21 ล่าช้า เพราะมีการคัดค้านว่าขอให้แก้ไขกฎหมายก่อนแล้วค่อยเปิด   ซึ่งเหตุการณ์ที่ผ่านมาบ่งบอกว่ากลไกภาครัฐขาดความเชื่อถือจากประชาชนบางส่วน ซึ่งภาครัฐควรจะชี้แจงเรื่องยากๆ ใ้ประชาชนเข้าใจง่าย แต่ไม่สามารถทำได้ และยังเกิดความเคลือบแคลงประชาชน ไม่ยอมรับเท่าที่ควร ซึ่งการไม่ใช่เชื่อถือภาครัฐถือเป็นวิกฤติที่ต้องแก้ไข อย่างไรก็ตาม ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งปันผลผลิต การจ้างสำรวจและผลิต แต่อีกด้านมีการเป็นห่วงจากภาคประชาชนว่าหากไม่มีบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (เอ็นโอซี)  จะไม่สามารถเข้าถึงสามารถรับทราบรายละเอียดสัญญา ได้  ก็จะเกิดความเคลือบแคลง  

นายสมชาย แสวงการ สนช. กล่าวว่า  ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของบางกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวว่าหากผ่าน ร่างพ.ร.บ.นี้จะ ขู่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน  ส่วนที่ไม่มีเอ็นโอซีนั้น ทางออกอาจ กำหนดให้มีการศึกษาก่อนระยะหนึ่งหรือไม่  แต่มีแผนข้างหน้าให้ชัดเจนไม่ต้องรอสัมปทานอย่างเดียวจะสำรวจผลิตเองก็ได้ถ้าพร้อม หรือจะเปลี่ยนเป็นแบบ บรูไน อย่างที่ภาคประชาชนอยากได้ กระทรวงพลังงานทำงานด้านนี้อยู่แล้วอาจร่วมบัญญัติเพิ่มบางมาตราเติมเต็ม  กำหนดว่าอะไรทำได้ มีระยะเวลาเห็นผลทำให้ชัดเจน  ทำให้ให้ภาคประชาชนรับทราบ เรื่องนี้ต้องเขียนให้ชัด เอาผลประโยชน์ชาติเป็นตัวตั้ง  ปฏิรูปต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทุกฝ่าย ปฏิรูปตามยุทธศาสตร์  20 ปี  ซึ่งต้องเร่ิมนับหนึ่งพร้อมกันด้วยความเชื่อมั่น

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์  สนช. กล่าวว่า  ขอเสนอให้ถอนร่างพ.ร.บ.ออกจากการพิจารณาของ สนช. ออกไปก่อน เพื่อมาศึกษาก่อน 30  วัน ว่าจะสามารถปรับแก้ตรงไหนอย่างไร เพราะสิ่งที่เสนอมา กับความต้องการของภาคประชาชนไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ  อีกทั้งการทำงานเรื่องนี้ช่วงที่ผ่านมาถูกครอบด้วยสภาพแวดล้อมเดิมๆ คนกลุ่มเดิมๆ  จึงไปไหนไม่ได้ 

นายมณเฑียร  บุญตัน สนช. กล่าวว่า คนที่ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ ล้วนแต่เป็นมิตรของรัฐบาลทั้งนั้น ไม่อยากให้รัฐบาลเสียมิตร แต่ควรต้องสร้างมิตรเพิ่ม ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียด แต่รู้สึกไม่สบายใจที่มีการเพิ่มทางเลือกแบบไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ  ว่าใครจะมาจัดการเรื่องแบ่งปัน สำรวจและผลิต ที่มีอยู่มีแต่เรื่องสัมปทานตามโครงสร้างเดิม และระบบกฎหมายแบบเดิม อาศัยระบบอนุญาโตตุลาการ มีปัญหาทีไรไทยแพ้ทุกที เห็นว่าข้อเสนอของนายวัลลภมีเหตุผล วิงวอน อยากลองให้ ช่วยคิดสักครั้ง
 
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. กล่าวว่า การต้องแก้ไขกฎหมายเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2514 ที่ ราคาน้ำมันอยู่ที่บาร์เรลละ 10 เหรียญ  จนถึงวันนี้บริษัทน้ำมันที่ลงทุนถอนทุนหมดแล้วถึงเวลาจะทำให้เรื่องของพลังงานเชื้อเพลิง  เป็นประโยชน์ของชาติแท้จริง  ซึ่งในหลักการข้อ 2 การกำหนดให้มีการดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบใดเป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นของครม.นั้น  ไม่รู้ว่าคนกลุ่มใดจะมาใช้ดุลพินิจ  แต่เราก็ต้องมั่นใจในครม.ที่จะ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ

อย่างไรก็ตาม ปัญหายังอยู่ที่การแก้ไขเรื่องสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างสำรวจและผลิต  ซึ่งมีการพูดถึง เอ็นโอซี   ซึ่งขอฝาก กมธ.วิสามัญที่จะตั้งมาพิจารณาในวาระ 2- 3 ต่อไปนั้น  นำข้อท้วงติง  ความเห็นคำชี้แจงของสมาชิกประกอบการพิจารณา  โดยเฉพาะประเด็น เอ็นโอซี แต่ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือไม่ เพราะไม่มีกำหนดไว้ในหลักการของร่างพ.ร.บ.

พล.อ.อนันตพร ชี้แจงตอนท้ายว่า ประเด็นเอ็นโอซี หรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสมนั้นเพราะ  ต้องใช้งบประมาณเป็น 1 หมื่นล้านเพื่อจะเป็นทุนประเดิม  และยังห่วงเรื่องอำนาจของเอ็นโอซีจะเป็นอย่างไร ถ้ามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็น่าห่วง พราะเดิมมีการถ่วงดุลอำนาจอยู่จากคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็อยู่ที่การกำกับตรวจสอบ เอ็นโอซี อีกทอดหนึ่งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด