posttoday

"นายกฯ”ไม่หนุนเจรจาสันติสุขใต้กับคนที่ทำผิดกม.

29 เมษายน 2559

"บิ๊กตู่"ไม่การเจราจาสันติสุขใต้กับผู้ที่ผิดทำผิดกฏหมาย รับไม่ได้กับเหตุการณ์รุนแรง ผู้ก่อเหตุต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม

"บิ๊กตู่"ไม่การเจราจาสันติสุขใต้กับผู้ที่ผิดทำผิดกฏหมาย รับไม่ได้กับเหตุการณ์รุนแรง ผู้ก่อเหตุต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม

เมื่อวันที่ 29เม.ย.59 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ที่มีกระแสจะไม่เป็นผลสำเร็จว่า อยากจะเตือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูลก็เขียนกันอยู่นั่น แก้ปัญหาไม่สำเร็จ พูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จบ้างมันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าอีกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่ตรงกันก็จะแก้ได้ ตนเห็นที่สื่อมวลชนเขียนระบุว่า ทำไมไม่จริงใจในการแก้ปัญหา มันยอมรับกระบวนการได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการสร้างอาชญากรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ กลุ่มผู้เห็นต่างที่เอาปืนมายิงกันนั้นผิดกฎหมาย องค์กรที่มีชื่อขึ้นตามทะเบียนต่างๆเหล่านั้นก็ผิดกฎหมายทั้งหมด รัฐบาลไม่สามารถที่จะนำกฎหมายในประเทศไปต่อรองได้ ประเทศไทยเจรจากับผู้กระทำความผิดไม่ได้ เอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาว่ากัน ซึ่งต้องดูตรงนี้ และคณะพูดคุยก็จะนำเรื่องไปหารือว่าเขาจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็กลับมา
 
“ทำไมเราต้องไปยอมรับกติกาในการให้เรียกชื่อ ไม่เห็นใครเขาจะสนใจ แล้วมันมีกี่กลุ่มรู้ไหม แล้วรู้ไหมทำไมเขาต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นมันถึงต้องไปคุยนอกประเทศ และจะไปดึงเขาเข้ามาในประเทศอีก ไม่เข้าใจกันซักเรื่อง แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ส่งเดชไปเรื่อย หลายคนนะ ผมดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย อยากนี่อยากโน่นแต่ไม่เคยเข้าใจ เราหลีกเลี่ยงอยู่แล้วเรื่องการพูดคุย รัฐบาลที่แล้วอยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง แล้วมันจะจบไหมล่ะคุยกัน เจตนาวันแรกก็ไม่ตรงกันแล้วที่จะขอให้ผมเรียกชื่อกลุ่มเขา ผมรับรองชื่อเขาได้ไหม ถ้ามันมีชื่อขึ้นก็จะมีกลุ่มอื่นตามมาเรื่อยๆ แล้ววันหลังก็ขึ้นทะเบียนไป รัฐก็ผิด ฉะนั้นใครไปคุยในประเทศเมื่อไหร่ก็ผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว และว่า เข้าใจให้ตรงกันด้วย ทำให้คนเขาสงบ อย่าไปเพิ่มศักยภาพในการพูดคุยว่า ถ้าหากพูดคุยแล้วจะกดดันจากการใช้ความรุนแรง และอาวุธ ตนให้ไม่ได้ ดังนั้นการที่ขอให้เป็นพื้นที่ปิดเพื่อดูแลกิจกรรม ดูแลครู เด็กนักเรียน ก็ค่อยๆทำ ถ้าคิดว่าจะพูดคุยกัน ถ้าพูดคุยแล้วจะเร่งรัดให้เรียกชื่อ ให้แสดงความจริงใจ ให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นวาระแห่งชาติ มันอะไรกัน การแก้ปัญหาภาคใต้ก็เป็นวาระแห่งชาติอยู่แล้ว
 
“เขียนให้ดีนะ ผมจะติดตาม เพราะฝ่ายความมั่นคงแจ้งมาเขาบอกว่ารับไม่ได้ การแก้ปัญหาวุ่นวายสับสนไปหมด เพราะการสร้างกระแสในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตรงกันหมด ไอ้นี่พูดอย่าง ไอนั่นพูดอย่าง รัฐบาลเขาตั้งหลักไว้แล้ว มีเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาของชาติให้เป็นธรรม เท่าเทียม ใครบอกไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็ร้องมาจะสอบให้ ใครจะกลับบ้านก็มีกระบวนการมาตรา21 เขามีไว้หมดแล้วมันจะอะไรกันอีก ก็เริ่มกันไม่ได้แล้วมันจะไปตรงอื่นได้อย่างไร บางอย่างในตำรา ก็คือตำรา วิชาการ ก็คือวิชาการ มันอยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างในการทำงาน ไม่ใช่เอาปัญหาทุกปัญหามาตีกันมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น” นายกฯ และหัวหน้าคสช. กล่าว