posttoday

รถไฟฟ้าสายสีม่วงเปิดใช้งานเต็มรูปแบบส.ค.59

12 กุมภาพันธ์ 2559

นายกฯเผยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงสร้างเสร็จแล้วพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบส.ค.59เร่งพัฒนาระบบรถไฟรางคู่

นายกฯเผยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงสร้างเสร็จแล้วพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบส.ค.59เร่งพัฒนาระบบรถไฟรางคู่

เมื่อวันที่12ก.พ.59 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติว่า โครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทางใน กทม.สายสีม่วง บางใหญ่ – เตาปูน สร้างเสร็จแล้ว จะทดลองเดินรถเต็มรูปแบบ พฤษภา 59 และจะเปิดบริการสิงหา 59 เฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
 
สายที่ 2 สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และบางซื่อ– ท่าพระ ก่อสร้างไปแล้ว 70% มีทั้งแบบใต้ดินและยกระดับ มีอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของไทยจะเปิดให้บริการ เมษา 62 ได้ไปดูมาแล้วการเจาะอุโมงค์มีความทันสมัยมาก
 
เส้นที่ 3 สายสีเขียว (ตอนใต้) ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ก่อสร้างแล้ว 70% จะเปิดให้บริการก.พ.61 และเส้นที่4 ส่วนต่อขยายสายสีเขียว (ตอนเหนือ) ช่วงหมอชิต –คูคต ก็จะเปิดให้บริการ ก.พ. 63  ต่อไป

สายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต ก่อสร้างคืบหน้ากว่า 50% จะเปิดให้บริการกันยา 63 ต่อไป  สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน –หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและการพิจารณาของสศช.สภาพัฒน์ฯ
 
สายที่ 7 สายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย –มีนบุรี ครม. มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อปลายปี 58  อยู่ระหว่างการจัดทำราคากลาง จะเริ่มประกวดราคา มกรา 59 เริ่มก่อสร้างมีนา 60 มีแผนจะเปิดให้บริการปลายปี 63 สายสีส้มนี้จะเป็นโครงข่ายเส้นแรก เชื่อมแนวขวางของกรุงเทพฯเรียกว่า East-West และจะต้องมีแนวขวางด้วย เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วเราสามารถจะใช้เส้นนี้เชื่อมโยงเข้ากับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่น อีก 4 สาย ได้แด่สายสีแดง สีน้ำเงิน แอร์พอร์ตเรลลิงค์ และสายสีชมพู จะสามารถรองรับผู้โดยสารราว 5 แสนคน/วันได้ สายที่ 8 สายสีชมพู มีนบุรี – แครายนะครับ  และสายที่ 9 สายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง ทั้ง 8 และ 9 นี้เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว พยายามผลักดันให้เปิดบริการในปี 63  

สายที่ 10 ส่วนต่อขยายสายสีม่วงลงทางใต้ เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ EIA และเกาะรัตนโกสินทร์

ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ขนาด 1 เมตร หรือทางคู่คือสวนกันได้ไม่ต้องวิ่งทับเส้นทางเดียวกัน หรือก็มีราง 4 เส้น ส่วนทางเดี่ยวที่มีอยู่เดิม 4,000 กว่ากิโลเมตรที่วิ่งสวนกันไม่ได้ ต้องทำเสริมเป็นทางคู่วิ่งสวนคนละเส้นทาง ในระยะแรก ระยะทาง 905 กิโลเมตร เฉพาะในเส้นทางที่สำคัญในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ รองรับการขนส่งสินค้าขนาดหนัก และเชิงสังคม บริการประชาชนไม่ว่าจะเป็นชั้นประหยัด เพื่อสะดวกในการขนส่งคนระหว่างเมือง สามารถย่นเวลาการเดินทางมี 2 เส้นทาง ที่เริ่มก่อสร้างในเดือน ธันวา 58 ถึงต้นปี 59 ทำไปแล้วได้แก่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลอง 19 – แก่งคอย น่าจะเสร็จได้ในปี 61 แล้วก็ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่นแล้วเสร็จปี 62  กับอีก 4 เส้นทางที่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณารายงาน EIA  ช่วงช่วงประจวบคิรีขันธ์ – ชุมพร, มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ, ช่วงนครปฐม – หัวหิน ลพบุรี – ปากน้ำโพจากนั้นก็จะนำเสนอครม.เมื่อผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้วให้ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป

"รถไฟขนาด 1.435 เมตรนี่เป็นรถไฟอนาคต เพื่อจะเตรียมการสู่ การใช้รถไฟความเร็วสูง วันนี้เรายังไปไม่ถึงตรงนั้นหรอก การใช้บริการ ขีดความสามารถของผู้ใช้บริการโดยสารอะไรต่างๆยังไม่พร้อมเราก็เตรียมทำไว้ก่อน ทำรางให้สามารถเป็นรถไฟความเร็วสูงได้ในวันหน้า แต่วันนี้เอารถไฟความเร็วปานกลางมาใช้ก่อน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เรื่องที่ 2 โครงการความร่วมมือรถไฟ ไทย – ญี่ปุ่น เรียกว่าแบบ “ชินคันเซ็น”, ระยะทางรวม 672 กิโลเมตร กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร ยังทำอะไรไม่ได้เลยศึกษาความเป็นไปได้ก่อน คาดว่าจะศึกษาเสร็จในเดือนมิถุนา 59 แล้วก็จะดำเนินการต่อไป

ส่วนของที่3 ก็คือโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็คิดถึงเรื่องการลงทุนร่วม กับภาคเอกชน  ร่วมกับรัฐหรือ PPP Fast Track จำนวน 2 โครงการ 2 เส้นทาง ก็คือ ช่วงกรุงเทพฯ – หัวหิน 211 กิโลเมตร และ กรุงเทพฯ – พัทยา – ระยอง 193 กิโลเมตร เน้นการการขนส่งผู้โดยสารเช่นกัน

สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อจะช่วยในการถ่ายเทการจราจร โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ และเปิดช่องทางสัญจรกรุงเทพฯ – หัวเมืองใหญ่จำนวน 3เส้นทาง ได้แก่ สายพัทยา – มาบตาพุด สร้างแล้วเสร็จปี 62, สายบางปะอิน – นครราชสีมา จะลงนาม เม.ย. 59  เสร็จปี 63 และ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี จะลงนามสัญญาก่อสร้าง ก.ค. 59  และกำหนดเสร็จปี 63 เช่นกัน.