posttoday

น้ำท่วมใต้ทรัพย์สินรายใหญ่เสียหาย 1,045 ล้านบาท

23 กุมภาพันธ์ 2560

“คปภ.- อุตสาหกรรมประกันภัย” ผนึกกำลังจัดคาราวานช่วยเหลือ-จ่ายเคลมถึงประตูบ้าน

“คปภ.- อุตสาหกรรมประกันภัย” ผนึกกำลังจัดคาราวานช่วยเหลือ-จ่ายเคลมถึงประตูบ้าน

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นสำนักงาน คปภ.จึงได้ออกมาตรการต่างๆด้านการประกันภัยเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

นอกจากนี้ยังได้ติดตามและเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมสำหรับความคืบหน้าในการเร่งรัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นสำนักงาน คปภ.จึงได้ออกมาตรการต่างๆด้านการประกันภัยเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

นอกจากนี้ยังได้ติดตามและเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมสำหรับความคืบหน้าในการเร่งรัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 จากการรายงานของสำนักงาน คปภ. ภาค 8 สำนักงาน คปภ. ภาค 9 รวมทั้งจากการรายงานของบริษัทประกันภัย พบว่า ความเสียหายของรถยนต์ที่ทำประกันภัยมีจำนวนเสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 3,046 คัน รวมมูลค่าความเสียหาย 301.82 ล้านบาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้ว 1,429 คัน คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 132.78 ล้านบาท และบริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายรวมทั้งตกลงรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยอยู่ในระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,617 คัน คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 169.03 ล้านบาท

ขณะที่ ความเสียหายจากทรัพย์สิน (IAR) มีความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 458 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,045 ล้านบาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้วจำนวน 74 ราย คิดเป็นเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3.40 ล้านบาทบาท และบริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายรวมทั้งตกลงรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยอยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 384 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,041 ล้านบาท

น้ำท่วมใต้ทรัพย์สินรายใหญ่เสียหาย 1,045 ล้านบาท

 

สำหรับ ความเสียหายของประกันภัยทรัพย์สินด้านประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย) มีความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 998 ราย รวมมูลค่าความเสียหาย 42.85 ล้านบาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้ว 250 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6.09 ล้านบาท และบริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายรวมทั้งตกลงรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยอยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 748 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 36.764  ล้านบาท

ด้านความเสียหายประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์/เอสเอ็มอี) มีความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 76 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 15.19 ล้านบาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้วจำนวน 19 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.18 ล้านบาท และบริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายรวมทั้งตกลงรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยอยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 57 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 13 ล้านบาท

สำหรับความเสียหายการประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ (PA) มีความเสียหายจำนวน 5 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1.71 ล้านบาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเรียบร้อยแล้วจำนวน 2 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 1.10 แสนบาท และบริษัทประกันภัยตกลงรับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยอยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 3 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.60 ล้านบาท

เลขาธิการคปภ.กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. ได้เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยดำเนินการจ่ายค่าสินไหมแก่ผู้ประสบภัยทุกรายการเป็นการด่วน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 16-17 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานคปภ. ได้จัดคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายใต้โครงการ “คปภ.-ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ซึ่งเป็นโครงการในรูปแบบ CSR  ด้วยการแจกเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ข้าวสาร และมีการมอบเงินสบทบเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้กับหน่วยงานราชการ 

รวมไปถึง การจัดให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม ณ พื้นที่เกิดอุทกภัยในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวน 20 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15.19 ล้านบาท เช่น ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 6 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน 2.09  ล้านบาท ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 3 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน 3.10  ล้านบาท และที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 11 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน 10 ล้านบาท

ทั้งนี้ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่างๆ และสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ระบบประกันภัยจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยเยียวยาความเดือดร้อนจากภัยเหล่านั้นได้ จึงขอให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและหันมาทำประกันภัยให้มากขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือรองรับความเสี่ยงภัยให้กับตนเองและครอบครัวในอนาคต หากมีข้อสงสัยให้สอบถามได้ที่ สายด่วนคปภ. 1186 เลขาธิการ คปภ.