posttoday

เอกชนไม่ป้องกันเสี่ยงค่าบาท ธปท.ห่วงขาดทุนเหตุหวังพึ่งแต่แบงก์ชาติ

20 เมษายน 2560

ธปท.ขู่ตุนอีกหลายมาตรการ เตรียมพร้อมรับมือค่าเงินบาทแข็งจากเงินทุนระยะสั้นไหลเข้า เปิดให้เงินทุนออกง่ายขึ้น

ธปท.ขู่ตุนอีกหลายมาตรการ เตรียมพร้อมรับมือค่าเงินบาทแข็งจากเงินทุนระยะสั้นไหลเข้า เปิดให้เงินทุนออกง่ายขึ้น

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่สบายใจที่เอกชนผู้ทำ การค้าระหว่างประเทศชะล่าใจไม่ซื้อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน คิดว่า ธปท.ดูแลค่าเงินบาทอยู่ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

"การดูแล ธปท.เราจะดูว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นไหม ในเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้าออกประเทศ ถ้าเราเห็นว่า มีความผิดปกติของการเคลื่อนย้าย เงินทุนในบางช่วงเวลา เราไม่ชอบที่เห็นเงินไหลเข้ามาพักไว้ในตลาดเงินของไทยระยะเวลาสั้นๆ และสร้างแรงกดดันให้กับอัตราแลกเปลี่ยน การที่ ธปท. ลดปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรระยะสั้นลงเป็นเพียงหนึ่ง ในหลายๆ มาตรการที่เราทำได้ และมีอีกหลายๆ มาตรการที่อยู่ในแผนงาน เมื่อไหร่ก็ตามที่เรา คิดว่าจำเป็นและเห็นถึงความผิดปกติ เราก็จะนำมาตรการนั้นๆ ออกมาใช้ได้" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

น.ส.วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า การดูแลตลาดเงิน ธปท.จะทำควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลเงินทุนไหลเข้าและออก โดยอีกด้านก็จะดำเนินการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกต่อเนื่องตามแผนงาน การผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินการ 3 เรื่อง คือ ส่งเสริมให้ผู้ลงทุนรายย่อยออกไปลงทุนในต่างประเทศ ได้โดยตรง อยู่ระหว่างการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าจะนับคุณสมบัติของนักลงทุนอย่างไร แต่เบื้องต้นจะใช้ฐานการกำหนดคุณสมบัติเดียวกับของ ก.ล.ต.เลยจะได้ไม่เกิดความสับสน

นอกจากนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศได้ แต่จะอนุญาตให้ทำได้แคบกว่าของธนาคารพาณิชย์ เพราะให้ทำได้กับเฉพาะลูกค้าของ บล.เองเท่านั้น และผ่อนคลายเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น

ขณะที่ นายสุโชติ เปี่ยมชล รอง ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากงานวิจัยของข้อมูลของ ธปท. พบว่าผู้ส่งออกไทยกว่า 60% ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งที่มีความเสี่ยงสูญที่จะสูญเสียรายได้จากความผันผวนของค่าเงิน และในรายที่ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ทำไม่สม่ำเสมอ พอเกิดความผันผวนทีก็ค่อยมาเร่งทำ ทำให้บางครั้งการเฮโลไปทำป้องกันความเสี่ยงพร้อมๆ กัน กลายเป็นไปกดดันค่าเงินบาทและซ้ำเติมผลกระทบให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ยังไม่พบ การเฮโลไปทำพร้อมๆ กันจนเกิดปัญหากดดันค่าเงินบาทแต่อย่างใด