posttoday

แบงก์ดันเอสเอ็มอีใช้พร้อมเพย์

20 กรกฎาคม 2559

แบงก์ยอมรับ ผลักดัน เอสเอ็มอีลดใช้เงินสดยาก เร่งหาวิธีเพิ่มความสะดวกอี-เพย์เมนต์มากกว่าเงินสด ใช้ฟรีค่าธรรมเนียมจูงใจ

แบงก์ยอมรับ ผลักดัน เอสเอ็มอีลดใช้เงินสดยาก เร่งหาวิธีเพิ่มความสะดวกอี-เพย์เมนต์มากกว่าเงินสด ใช้ฟรีค่าธรรมเนียมจูงใจ

นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเกษตรในภูมิภาค ยังคงเคยชินและรู้สึกสะดวกสบายกับการใช้เงินสดอยู่ แม้ธนาคารจะพยายามส่งเสริมให้เอสเอ็มอีกลุ่มนี้หันมาใช้ระบบชาระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงิน แทนการใช้เงินสดที่มีต้นทุนแฝงสูงมาก

ทั้งนี้ ไม่ว่าธนาคารจะส่งทีมงานเข้าให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการชาระเงิน รวมถึงการมีความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริการระบบชาระเงิน สำหรับธุรกิจลานเกษตรพืชไร่โอนชาระค่าผลผลิตให้ผู้ขาย ผู้รวบรวม และเกษตรกร เข้าบัญชีออมทรัพย์ของเกษตรกรที่ ธ.ก.ส. แต่ผลตอบรับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้

"เราทำมานานแล้วเรื่องการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีลดใช้เงินสด และเมื่อรัฐบาลมาจับเรื่องนี้ ก็เห็นใจถึงความยากในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทย ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะไม่มีอะไรสู้ความสะดวกของเงินสดได้ ถ้าอยากเปลี่ยน จะต้องหาอะไรสักอย่างที่ทำให้เขาสะดวกและได้ประโยชน์กว่าเงินสด ซึ่งผมมองว่าวันนี้ยังไม่มี" นายพัชร กล่าว

นายพัชร กล่าวว่า การที่รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงิน ผลักดันระบบชาระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เนชั่นแนล อี-เพย์เมนต์) นำร่องโดยระบบพร้อมเพย์นั้น อาจไม่ได้เห็นผลให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบชาระเงินในประเทศอย่างรวดเร็ว ต้องรอให้ ร้านค้าคุ้นเคยและยอมรับระบบใหม่ หากร้านค้าไม่เปลี่ยนไปรับเงินผ่านมือถือ คนซื้อก็ยังต้องถือเงินสดเช่นเดิม

อย่างไรก็ดี โครงการพร้อมเพย์ระยะที่ 2 ในกลุ่มนิติบุคคล ธนาคารมีแผนสนับสนุนให้การรับชาระเงินของธุรกิจหรือร้านค้าลดใช้เงินสด เช่น การนำเครื่องรับบัตร (อีดีซี) หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปติดตั้งให้ หรือในที่สุดอาจจะจูงใจด้วยการฟรีค่าธรรมเนียมการรับชาระเงิน แต่เชื่อว่าการที่ธุรกิจจะตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบชาระเงิน เป็นเรื่องความสบายใจและความเคยชินมากกว่า

ด้านแหล่งข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ท่ามกลางความพยายามผลักดันการลดใช้เงินสดและเช็คที่มีต้นทุนสูง แต่พบว่าผู้ประกอบการบางรายยังเลือกชาระเงินแบบเช็ค เนื่องจากได้ประโยชน์จากเครดิตชาระเฉลี่ยอยู่ที่ 15 วัน-2 เดือน สามารถนำกระแสเงินสดมาหมุนเวียนในธุรกิจได้ แม้มีต้นทุนมากกว่าอี-เพย์เมนต์ก็ตาม ดังนั้นจึงยังไม่น่าเห็นการเลิกใช้เช็คในระยะเวลาอันสั้นนี้แน่นอน

ทั้งนี้ ธปท.รายงานปริมาณการใช้เช็คในระบบ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมา มีปริมาณการใช้เช็คทั้งระบบทั้งสิ้น 5.9 ล้านใบ มีมูลค่ารวม 3.36 ล้านล้านบาท โดยปริมาณเช็คลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อน 5.26 แสนล้านใบ หรือ 8.17% ตามความนิยมใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าเช็คเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.4 หมื่นล้านบาท หรือ 0.42%