posttoday

กสทช. - ธปท.ร่วมมือยกระดับความปลอดภัยพร้อมเพย์

17 มิถุนายน 2559

กสทช. จับมือ ธปท.ยกระดับความปลอดภัยของใช้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เผยผู้ให้บริการต้องสแกนนิ้วเมื่อลูกค้าเมื่อเปิดใช้เบอร์มือถือก่อนจะไปผูกกับบัญชีธนาคารเพื่อเพิ่มความปลอดภัย เริ่มเดือนธ.ค.ปีนี้

กสทช. จับมือ ธปท.ยกระดับความปลอดภัยของใช้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  เผยผู้ให้บริการต้องสแกนนิ้วเมื่อลูกค้าเมื่อเปิดใช้เบอร์มือถือก่อนจะไปผูกกับบัญชีธนาคารเพื่อเพิ่มความปลอดภัย เริ่มเดือนธ.ค.ปีนี้

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการกำกับดูแลบริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (Mobile Payment) ที่เติบโตสูงขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้บริการอย่างปลอดภัย

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในความร่วมมือดังกล่าวธปท. และ กสทช. จะมีโครงการควาร่วมมือกันในหลายด้าน ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้(CyberSecurity)  และการพิสูจนตัวตนผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยปิดช่องโหว่ที่มิจฉาชีพจะมาสวมรอยเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์และนำไปใช้ในการฉ้อโกงธุรกรรมทางการเงิน และยกระดับความปลอดภัยในการใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

รวมถึงสนับสนุนให้มีการใช้บริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์ – PromptPay” ตามแผนยุทธศาสตร์เนชั่นแนล อีเพย์เม้นท์(National e-Payment)  เพื่อช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจโอนเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นภายใต้ค่าบริการที่ถูกลง

นอกจากนี้ ทั้งสององค์กรจะผสานแนวทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ใช้บริการชำระเงินให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต (DigitalLiteracy)  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การใช้บริการทางการเงินและการชำระเงิน รู้วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการ และส่งเสริมการใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือให้มากขึ้น

“การที่เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นสิ่งสำคัญในการดูแล ที่ต้องคำนึงถึง สิทธิของผู้บริโภค และการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเทคโนโลยีเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งคนทั่วโลกมีคนใช้โมบายแบงก์กิ้ง 800 ล้านคน และในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเพิ้มเป็นเท่าตัว คือ 1,800 ล้านบาท ส่วนของประเทศไทยมีคนใช้มากกว่า10 ล้านคน โดยโมบายแบงก์กิ้งเติบโต 73% ต่อปี ซึ่งพร้อมเพย์ก็จำให้คนเข้ามาใช้บริการการเงินที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้การดู ธปท.และกสทช.จึงต้องมาดูแล” นายวิรไทกล่าว

ด้านนายฐากรตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ปัจจุบันการให้บริการโทรคมนาคมและบริการทางการเงินเริ่มผนวกเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกัน ในรูปแบบกระเป๋าเงินออนไลน์หรืออีวอลเลต (e-Wallet) นอกเหนือจากการใช้เงินสดและบัตรเครดิตซึ่งรูปแบบการใช้งาน และไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ประชาชนในต่างจังหวัด จะนิยมใช้บริการโอนเงินด้วย e-Wallet ของค่ายโทรศัพท์มือถือโดยไม่ต้องใช้บัญชีธนาคารและไม่ต้องเดินทางไปสาขาธนาคารพาณิชย์  ขณะที่ประชาชนในเมืองใหญ่ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายก็นิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และค่าบริการถูกกว่าการเดินทางไปยังสาขาธนาคารพาณิชย์  ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมมือกันในการดูแล

“ในส่วนของบริการพร้อมเพย์ ที่ผูกเบอร์บัญชีกับโทรศัพท์มือถือ กสทช.จะกำหนดให้โอเปอร์เลชั่นหรือผู้ให้บริการมือถือต้องมีการลงทะเบียนการใช้ด้วยระบบฟิกเกอร์ ฟริ้น ที่จะมีการแสดงนิ้วมือเพื่อแสดงตัวตนของเจ้าของเบอร์ ก่อนจะนำเบอร์มือถือไปลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคาร เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น คาดจะเริ่มเดือนธ.ค.ปีนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้และส่งเสริมระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(National e-Payment) ของรัฐบาล” นายฐากร กล่าว