posttoday

ไทยติดอันดับ4ในเอเชียแปซิฟิก ถูกแฮ็กเกอร์โจมตี

21 มิถุนายน 2560

จับตาแนวโน้มแรนซัมแวร์ 6 เดือนซับซ้อนขึ้น ไทยติดอันดับ 4 โดนโจมตี กระทรวงดีอีใช้งบ 128 ล้าน ลงทุนซอฟต์แวร์ส่องสังคมออนไลน์

จับตาแนวโน้มแรนซัมแวร์ 6 เดือนซับซ้อนขึ้น ไทยติดอันดับ 4 โดนโจมตี กระทรวงดีอีใช้งบ 128 ล้าน ลงทุนซอฟต์แวร์ส่องสังคมออนไลน์

น.ส.ไมร่า พิเลา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บ-บริษัท เทรนด์ไมโคร เปิดเผยว่า แนวโน้มภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ทั่วโลก 6 เดือน ปริมาณแรนซัมแวร์ลดลงแต่จะมีรูปแบบการทำงานซับซ้อนมากขึ้น โดยคาดการณ์การเติบโตของแรนซัมแวร์เติบโต 25% ลดลงจากปกติคาดว่าโต 172% ขณะนี้มีธุรกิจเปิดให้บริการแรนซัมแวร์โดยจ่ายค่าบริการตลอดชีพ 1,300 บาท

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบใหม่ อาทิ โฆษณาชวนเชื่อในโลกโซเชียลมีเดีย สร้างข่าวลวงโดยตรง รูปภาพลวง ส่วนใหญ่จะหวังผลทางด้านการเมือง หรือการแฮ็กฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว การแฮ็กหน่วยงานขององค์กร อาทิ แผนกจัดซื้อ หรือกระทั่งอุปกรณ์ไอโอที ส่วนใหญ่ป้องกันโดยติดตั้งระบบป้องกันและยืนยันตนบนอุปกรณ์ส่วนตัว

สำหรับในไทยติดอันดับที่โดนแฮ็กเกอร์โจมตีติดเป็นอันดับ 4 ของเอเชียแปซิฟิกในสัดส่วน 4% ธุรกิจกิจที่โดนภัยคุกคามส่วนใหญ่เป็นสถานบันการเงิน อย่างไรก็ดีเริ่มมีหลายประเทศที่วิธีการป้องกันมากกว่าจะปล่อยให้แรนซัมแวร์โจมตี เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย

ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) เตรียมใช้งบประมาณราว 128.56 ล้านบาท ลงทุนด้านซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เพื่อจับตาและระบุเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านคน โดยซอฟต์แวร์นี้วิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์และรัฐบาลเปิดรับข้อเสนอ และจะนำซอฟต์แวร์ที่ได้ไปใช้ควบคู่กับกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ของไทยในอนาคต

ทั้งนี้ ไทยเป็นหนึ่งในรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกที่กำลังเพิ่มการลงทุนซอฟต์แวร์ติดตามและประมวลผลด้านโซเชียลมีเดีย ก่อนหน้านี้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก พบว่าหน่วยงานหลายแห่งภายใต้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ลงทุนกว่า 5.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ในซอฟต์แวร์ประเภทดังกล่าว

ภาพ...เอเอฟพี