posttoday

กสทช.ลั่น4จีข้อมูลต้องเร็ว10เท่า

26 พฤศจิกายน 2558

กสทช.ขีดเส้นรับส่งข้อมูลระบบ 4จี ต้องเร็วกว่า 3 จี 10 เท่า เอไอเอสแจงเน็ตเร็วกว่าเดิม 4 เท่า ทรูฯแจงรอฤกษ์

กสทช.ขีดเส้นรับส่งข้อมูลระบบ 4จี ต้องเร็วกว่า 3 จี 10 เท่า เอไอเอสแจงเน็ตเร็วกว่าเดิม 4 เท่า ทรูฯแจงรอฤกษ์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ความเร็วในการให้บริการในระบบ 4จี ด้วยเทคโนโลยี LTE ตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการรับส่งข้อมูลเร็วกว่าระบบ 3จี 10 เท่า ซึ่งขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการจัดทำประกาศกำหนดความเร็วขั้นต่ำในการรับส่งข้อมูลของมือถือ 4จี ออกมาเพื่อให้เป็นมาตรฐาน โดยแนวโน้มว่าจะยึดตามมาตรฐานของไอทียูเป็นหลัก

ทั้งนี้ กสทช.ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพการให้บริการมือถือ 3จี ในปี 2555 โดยให้ความเร็วขั้นต่ำการรับส่งข้อมูลของมือถือ 3จี อยู่ที่ 345 Kbps สำหรับการดาวน์โหลด และ 153 Kbps สำหรับการอัพโหลด แต่ปัจจุบันการให้บริการในระบบ ดาวน์โหลด และ 153 Kbps สำหรับการอัพโหลด แต่ปัจจุบันการให้บริการในระบบ 3จี ในเมืองไทยสำหรับดาวน์โหลดไม่ถึง 50% ของมาตรฐานที่กำหนด

ด้าน นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เปิดเผยภายหลังเป็นตัวแทนเข้ารับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จาก กสทช. ว่า ขอให้ความมั่นใจเต็มที่ว่าโดยปกติโทรศัพท์ 4จี จะเร็วกว่า 3จี ประมาณ 3-4 เท่าอยู่แล้ว และเอไอเอสยังมีบริการ Super Wi-Fi ซึ่งมีความเร็วถึง 650 Mbps มีบริการ Fixed Broadband ที่จะ Bundle กันไปด้วย ดังนั้นลูกค้าเอไอเอสที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะไม่ได้ใช้แค่คลื่น 1800 MHz เท่านั้น แต่มีบริการ Super Wi-Fi และ Fixed Broadband ให้ใช้แบบไร้รอยต่อ

นายสมชัย กล่าวอีกว่า เอไอเอสยืนยันจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของ กสทช. ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการซึ่งต้องถูกกว่าโทรศัพท์ 3จี รวมทั้งการกำหนดแพ็กเกจค่าโทรสำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้พิการ

สำหรับการให้บริการนั้นยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดให้บริการ 4จี เมื่อไหร่ เพราะฝ่ายวิศวกรรมกำลังอยู่ระหว่างวางแผน และต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ เพื่อขอวางแผน และต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติงบลงทุน จากนั้นยังต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วจึงจะชี้แจงอีกครั้งว่าจะเปิดให้บริการ 4จี เมื่อไหร่ อัตราค่าบริการและแผนการตลาดจะเป็นอย่างไร

ด้าน นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ ผู้อำนวยการบริหารด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นตัวแทนนำเงินมาชำระเงินประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 50% ของราคาที่ประมูลได้ เป็นเงิน 20,492 หมื่นล้านบาท แต่ไม่ได้วางแบงก์การันตีเงินประมูลงวดที่ 2 และ 3 ทำให้ยังไม่ครบองค์ประกอบที่จะออกใบอนุญาตให้ โดยทางทรูชี้แจงว่า จะต้องรอฤกษ์ก่อนจึงจะมาวางแบงก์การันตีและรับใบอนุญาตในภายหลัง