posttoday

Digital Economy Scorecard: ตัวชี้วัดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ

22 มีนาคม 2558

“Digital Economy Scorecard”เป็นกรอบมาตรฐานในการวัดและเปรียบเทียบความก้าวหน้าและความสำเร็จ

โดย...จักรกฤษณ์ สังกิตติวรรณ์, พาร์ทเนอร์ บริษัทที่ปรึกษา ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด

หนึ่งในนโยบายสำคัญที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางของรัฐบาลในปัจจุบันคือการขับเคลื่อนไปสู่ยุค เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงธุรกรรม ต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและสารสนเทศ โดยมีการกำหนดยุทธศาสตรในการพัฒนาไปสู่ Digital Economy 5 ด้าน ได้แก่

(1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (2) การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำ ธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นเพื่อส่งเสริมการให้บริการ (4) การส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และ (5) การพัฒนาดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ ซึ่งในภาพรวมแล้วแนวทางในการขับเคลื่อนไปสู่ Digital Economy ของประเทศไทย นั้นสอดคล้องกับแนวทางสากลที่มีการปฏิบัติในต่างประเทศ หากเพียงแต่ว่าในปัจจุบันยังไม่ได้มีการก าหนดหรือ กล่าวถึงในวงกว้างว่าเราจะวัดความส าเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตรใไปสู่ Digital Economy ได้อย่างไร?

สำหรับประเทศในยุโรปนั้นได้มีการจัดทำ “Digital Economy Scorecard” เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานสำหรับทุกประเทศในสหภาพยุโรป (European Union) ในการวัดและเปรียบเทียบความก้าวหน้าและความสำเร็จ ของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไปสู่ยุค Digital Economy แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับการวัดประสิทธิภาพในการ ดำเนินงานขององค์กรต่างๆ โดยกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและบรรลุวัตถุประสงคใที่ต้องการ โดย Digital Economy Scorecard ของประเทศในยุโรปจะแสดงถึงระดับความเป็น ดิจิตอลของประเทศต่างๆ ซึ่งมีการวัดค่าโดยใช้ “Digital Economy and Society Index (DESI)” ซึ่งประกอบไป ด้วย 5 ด้านหลัก ได้แก่

- การเชื่อมต่อ (Connectivity) ใช้วัดการพัฒนาโครงสร้างบรอดแบนด์และคุณภาพ การเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ใความเร็วสูงเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการแข่งขัน

- ทุนมนุษย์ (Human Capital) ใช้วัดทักษะที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากสังคมดิจิตอล โดยทักษะ ดังกล่าวหมายรวมทั้งทักษะพื้นฐานของบุคคลในงานออนไลน์และการบริโภคจากสินค้ายุคดิจิตอล และทักษะขั้นสูงสำหรับเป็นกำลังแรงงานในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมผลิตผล และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ

- การใช้งานอินเตอร์เน็ต (Use of Internet) เป็นการเก็บข้อมูลความหลากหลายของกิจการของประชาชนบนโลกออนไลนใ ตัวอย่างเช่นกิจการการใช้บริการจากเนื้อหาออนไลน์ (วีดิโอ, เพลง, เกม และอื่น ๆ) ไปถึงกิจกรรมการสื่อสารสมัยใหม่หรือการซื้อขายออนไลน์และการธนาคาร

- การผนวกเทคโนโลยีดิจิตอล (Integration of Digital Technology) ใช้วัดความเป็นดิจิตอลของธุรกิจ และการใช้ประโยชน์จากช่องทางการขายออนไลน์โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกตใช้เพื่อประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค รวมไปถึงการร่วมมือกันทางธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้เป็นช่องในการขายไปยังตลาดที่กว้างมากขึ้น

- บริการดิจิตอลสาธารณะ (Digital Public Service) ใช้วัดความเป็นดิจิตอลของบริการสาธารณะ และ เจาะจงไปยัง eGovernment และ eHealth การเข้าสู่ความทันสมัยและดิจิตอลของบริการสาธารณะ รวมถึง eHealth สามารถน าไปสู่ประสิทธิภาพของในการบริหารจัดการสาธารณะ ประชากรสามารถ เข้าถึงบริการที่ดีกว่าเดิมได้

โดยแต่ละด้านจะแยกย่อยออกเป็น 2 ถึง 4 ประเด็น แต่ละประเด็นจะมีตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สะท้อนความ ดิจิตอลในด้านต่าง ๆ โดยมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ตัวอย่างเช่น ด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) จะประกอบไปด้วยประเดน็ 5 ประเด็นได้แก่

- ประเด็นบรอดแบนด์แบบสาย (Fixed Broadband) วัดโดยใช้เปอร์เซ็นต์พื้นที่ครอบคลุม และ เปอร์เซ็นต์ที่ครัวเรือนเข้าถึงบรอดแบนด์แบบสายได้

- ประเด็นบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) วัดโดยใช้เปอร์เซ็นต์ของสมาชิกที่ใช้งานต่อ ประชากรทั้งหมด และเปอร์เซ็นต์ของคลื่นความถี่ที่จัดสรรต่อคลื่นความถี่ที่สามารถนำมาใช้งานในบรอดแบนด์ไร้สายได้

- ประเด็นความเร็ว (Speed) วัดโดยใช้เปอร์เซ็นต์ครัวเรือนที่เข้าถึงบรอดแบนด์ที่มีความเร็วขั้นต่ำ 30 Mbps ในการดาวน์โหลดได้ และเปอร์เซ็นต์ของสมาชิกที่ใช้งานบรอดแบนด์ความเร็วขั้นต่ำ 30 Mbps ต่อสมาชิกการใช้งานบรอดแบนด์แบบสายทั้งหมด

- ประเด็นความสามารถในการเข้าใช้งานได้ (Affordability) วัดโดยใช้ค่าบริการต่ำที่สุดต่อเดือนของการ ใช้งานอินเตอรเน็ตเพียงอย่างเดียวที่อัตราดาวน์โหลด (ที่โฆษณาไว้) ตั้งแต่ 12 ถึง 30 Mbps

ตัวชี้วัด DESI สามารถใช้ติดตามและทำให้เห็นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของประเทศในยุโรป รวมไปถึงใช้เปรียบเทียบการดำเนินงานระหว่างประเทศในยุโรป โดยใช้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือมีระดับสูง ระดับกลาง และ ระดับต่ำได้อีกด้วย

เมื่อพิจารณากรณีของประเทศไทยพบว่าตัวชี้วัดเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อน Digital Economy ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตัวชี้วัด DESI ใช้เป็นตัวอย่างการวัดความสำเร็จไม่เพียงแต่กการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจดิจิตอลเท่านั้นรวมไปถึงการพัฒนาสังคมดิจิตอล (Digital Society) ทั้งต่อประชาชน ธุรกิจ และบริการ สาธารณะอีกด้วย ดังนั้นแล้วประเทศในยุโรปข้างต้นที่มีการจัดทำตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 และกำหนดให้บรรลุ เป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2020 เมื่อมองที่ประเทศไทยกำหนดว่าการขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy จะเห็น ผลเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงการวัดความสำเร็จของการขับเคลื่อน ยุทธศาสตรใไปสู่ Digital Economy เพื่อให้การขับเคลื่อน Digital Economy เป็นไปอย่างยั่งยืนและเห็นผลอย่าง เป็นรูปธรรมต่อประเทศ รวมไปถึงประชาชนและธุรกิจสามารถติดตามและทราบถึงระดับความสำเร็จของการ ดำเนินงาน Digital Economy ของรัฐบาลส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของรัฐบาลได้ การกำหนดตัวชี้วัด ความสำเร็จจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป