posttoday

อัยการโยนDSIฟ้อง "โอ๊ค-เลขาหญิงอ้อ-พ่อศิธา" คดีกรุงไทย

31 สิงหาคม 2558

อัยการชี้แจง ผู้ต้องหา4คนในคดีธนาคารกรุงไทย ถูกแยกไปพิจารณาโดยดีเอสไอ เพราะไม่ได้เป็นนักการเมือง

อัยการชี้แจง ผู้ต้องหา4คนในคดีธนาคารกรุงไทย ถูกแยกไปพิจารณาโดยดีเอสไอ เพราะไม่ได้เป็นนักการเมือง

นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล ผู้ตรวจการอัยการการดำเนินการต่อเนื่องเกี่ยวกับคดีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งศาลฎีกา แผนกคดีอาญาอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินไปแล้ว แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้มีการดำเนินคดีกับนายพานท้องแท้ ชินวัตร กับพวกรวม 4 คนในข้อหารับของโจรด้วยนั้น คำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ที่ตัดสินความผิดคดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย แก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวกรวม 27 คน ฐานร่วมกันสนับสนุนในการกระทำอันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้น และประชาชน หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตกระทำความผิดจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้นและประชาขน ผู้ฝากเงินหรือใช้ความช่วยเหลือให้ความสะดวกในการกระทำผิด แต่ไม่ได้ดำเนินคดี นายพานทองแท้ ชินวัตร นางกาญจนา หงษ์เหิน นายวันชัย หงษ์เหิน และรายมานพ ทิวารี ในฐานความผิดรับของโจร

นายวินัยชี้แจงว่า ในการดำเนินคดี ยังมีความไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหา และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบ (คตส.) ในประเด็นการรับของโจรของนายพานทองแท้ กับพวกเห็นว่าไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ที่จะพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เนื่องจากนายพานทองแท้ ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมือง อัยการสูงสุดจึงไม่สามารถดำเนินคดีภายใต้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการแยกการสอบสวนไปดำเนินคดีต่างหาก ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

อย่างไรก็ตาม ในส่วนความผิดฐานรับของโจร มีอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการกระทำผิด ซึ่งคดีนี้พบการกระทำผิดเมื่อช่วงปี 2547 แต่ต้องพิจารณารายละเอียดคดีจากดีเอสไอ ว่ามีการกระทำผิดต่อเนื่องหรือไม่ จึงจะสามารถระบุได้ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเส้นทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยปรากฏว่า มีกลุ่มบุคคลอย่างน้อย 5 คน ที่ได้รับผลประโยชน์จากการปล่อยกู้ใน ครั้งนี้กว่า 190 ล้านบาท โดย ภายหลังบริษัทกฤษดามหานครมีการเบิกเงินกู้จากธนาคารกรุงไทยไปมีการโอนเงินเข้าบัญชีนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร นายวันชัย หงษ์เหิน ในวงเงินกว่า 21 ล้านบาท มีการโอนเงินเข้าบัญชีนายมานพ ทิวารี บิดาของ น.ต.ศิธา ทิวารี กว่า 155 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการตีเช็คสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฉบับละ 8.4 แสนบาท จำนวน 21 ฉบับ ร่วม 17 ล้านบาท และนายพานทองแท้นำไปจองซื้อหุ้น AOT