posttoday

SPCGขานรับนโยบายผลิตไฟฟ้าใช้เองจัดติวเข้มลดรายจ่ายฝ่าวิกฤต

18 มิถุนายน 2559

SPCG ขานรับนโยบายรัฐบาลผลิตไฟฟ้าใช้เอง จัดติวเข้ม"ลดรายจ่ายฝ่าวิกฤตกับโซลาร์รูฟเสรี"อัดแคมเปญรับส่วนลดสูงสุดเงินแสน

SPCG ขานรับนโยบายรัฐบาลผลิตไฟฟ้าใช้เอง จัดติวเข้ม"ลดรายจ่ายฝ่าวิกฤตกับโซลาร์รูฟเสรี"อัดแคมเปญรับส่วนลดสูงสุดเงินแสน

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายดำเนินโครงการนำร่องผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน (โซลาร์รูฟท็อป) แบบเสรี 100 เมกะวัตต์ว่า บริษัทเอสพีซีจีฯได้ร่วมกับ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาในหัวข้อ “ลดรายจ่ายฝ่าวิกฤต กับโซลาร์ รูฟ เสรี” เมื่อรัฐบาลประกาศให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการได้ เราก็จะมีความพร้อมสามารถเข้าร่วมโครงการได้ทันทีที่ โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟตามบ้านในช่วงเวลากลางวันที่มีบิลค่าไฟเรียกเก็บตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป หากติดตั้งโซลาร์รูฟแล้วจะคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ การจัดงานสัมมนาจัดวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.30 – 16.00 น ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียนอินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รับที่นั่งจำนวนจำกัด ไม่เกิน 300 ที่นั่ง เฉพาะงานนี้รับส่วนลดสูงสุด 100,000 บาท พร้อมรับ HEMS สนใจยืนยันการเข้าร่วม โทร.HomePro Call Center 02-831-6000

ดร.วันดี กล่าวว่า โครงการนำร่องผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน (โซลาร์รูฟท็อป) แบบเสรี โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้อนุมัติหลักการรับซื้อไฟนำร่องเพื่อทดลอง 100 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 50 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 50 เมกะวัตต์ โดยการไฟฟ้าแต่ละแห่งจะรับซื้อไฟฟ้าจากที่อยู่อาศัย 10 เมกะวัตต์ รายละไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และอาคาร 40 เมกะวัตต์ รายละไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ คาดว่าจะเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายได้ในเดือนกรกฎาคม -31 สิงหาคมนี้ โดยผู้ผ่านการคัดเลือกที่ลงนามในสัญญาแล้วจะต้องเชื่อมต่อระบบภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินวันที่ 31 ม.ค. 2560

สำหรับ โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าร์รูฟอย่างเสรี เป็นข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปท.) ซึ่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้ให้ความเห็นชอบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ไปกำหนดแนวทางปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่อง ที่เน้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก โดยขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ในราคารับซื้อไฟฟ้าที่ไม่ก่อภาระต่อประชาชน(ระบบ Net-metering) ซึ่งโครงการมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองทั้งประเภทบ้านและอาคาร