posttoday

พช.ขับเคลื่อนพลังประชารัฐ12จังหวัดอีสานตอนบน

22 เมษายน 2560

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่อุดรธานีและสกลนครขับเคลื่อนนโยบาย “สานพลังประชารัฐ”มุ่งผลักดันเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่อุดรธานีและสกลนครขับเคลื่อนนโยบาย “สานพลังประชารัฐ”มุ่งผลักดันเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
 
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เดินทางลงพื้นที่ จ.อุดรธานี  เพื่อประชุมหารือและรับฟังการนำเสนอแผนการดำเนินงานจากตัวแทน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ในพื้นที่ 12 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ที่โรมแรมเซ็นทารา อุดรธานี โดยเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ก้าวหน้า และสำเร็จ   เพื่อให้เห็นผลที่เกิดในชุมชนต่างๆ ได้แก่  เกษตร แปรรูปและท่องเที่ยวโดยชุมชน พร้อมทั้งประชุมร่วมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ จ.อุดรธานี
       
นายอภิชาติ  กล่าวว่า ขณะนี้บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี สิ่งที่ต้องการให้เกิดมากที่สุด คือ การดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง  เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นรูปแบบการทำงานที่ถูกออกแบบมาให้ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม  ภาควิชาการ และประชาชน ทำงานร่วมกัน จึงไม่มีสูตรสำเร็จในการทำงาน แต่มีเป้าหมายหลัก คือ การสร้างรายได้ให้ชุมชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ
สำหรับ  บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ในแต่ละจังหวัด ที่เป็นนิติบุคคลสามารถทำงานได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอการขับเคลื่อนจากทางราชการ โดยแนะให้ยึดวิธีการทำงานเช่นเดียวกับ “โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หรือ “ดอยตุงโมเดล” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” บนพื้นที่ดอยตุง จ.เชียงราย  ที่เริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อคลุกคลีกับปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขาอย่างจริงจัง   เมื่อทราบข้อมูลก็สามารถชวนให้ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่นได้  มาทำพืชเกษตร  และนำมาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พร้อมหาช่องทางการจำหน่าย เพราะถ้าขายอยู่บนดอยก็คงไม่มีคนซื้อ ก็มีการจัดตั้งบริษัท ดอยคำ ดังนั้นรูปแบบการทำงานของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อ
      
นายอภิชาติ กล่าวาาการทำงานให้สำเร็จนั้นจะประกอบด้วยคีย์เวิร์ด 3 คำสำคัญ คือ 1. ชุมชนเป็นตัวตั้ง คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมก่อน 2. เอกชนร่วมขับเคลื่อน คือบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ฯ เป็นรูปแบบบริษัทจำกัด ที่เข้ามาขับเคลื่อน โดยบริษัทฯ ต้องทำกำไร เพียงแต่กำไรจะไม่ปันผล เพราะต้องนำกำไรนี้ไปช่วยเหลือชุมชน และ 3.  รัฐบาลสนับสนุน มีคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบาย สานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) จะคอยเป็นแบ็คอัพช่วยเหลือ ในการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อให้เกิดผล
      
จากนั้น คณะทำงานจะเดินทางลงพื้นที่ต่อยัง จ.สกลนคร เพื่อรับฟังสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐจ.สกลนคร   โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร และทีมงาน ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮัง พร้อมลงพื้นที่ดูของจริงที่วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพริกบ้านหนองหอย และแปลงเกษตร ปราชญ์เกษตรนางบังอร ไชยเสนา ต.เชียงเครือ อ.เมืองสกลนคร เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการเกษตรและการแปรรูป หลังจากนั้นได้เดินทางจากแปลงเกษตรไปยังกลุ่มสกลเฮ็ด ต.ธาตุเชิงชุม