posttoday

คมนาคมสั่งทบทวนขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน

07 กุมภาพันธ์ 2560

รมว.คมนาคมสั่งทบทวนขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน หวังสกัดบางสายการบินฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร

รมว.คมนาคมสั่งทบทวนขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน หวังสกัดบางสายการบินฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร

เมื่อวันที่ 7 ก.พ.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการบินพลเรือน (กพท.) ไปติดตามและสั่งให้แต่ละสายการบินทบทวนความเหมาะสมของการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารของสายการบินต่างๆภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินและน้ำมันหล่อลื่น ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในบางสายการบินนั้นไม่สะท้อนต้นทุนแท้จริงจนส่งผลใประชาชนต้องแบกรับภาระดังกล่าวมากเกินไป

ทั้งนี้ต้องเห็นใจสายการบินต้นทุนต่ำที่ปรับขึ้นราคาเนื่องจากค่าใช้จ่ายหลักของผู้ประกอบการราวร้อยละ 80 นั้นมาจากค่าน้ำมัน แต่ต้องดูด้วยว่าการปรับขึ้นราคาจะไม่กระทบกับประชาชนมากนัก เพราะการปรับขึ้นราคาของสายการบินย่อมกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันทางตลาดจนอาจส่งผลร้ายต่อราคาค่าโดยสารที่ประชาชนต้องจ่าย

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า เบื้องต้นพบว่าบางสายการบินขึ้นราคาค่าโดยสารไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงโดยเฉพาะสายการบินที่ใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ที่จุคนได้เกิน 200 คนย่อมได้รับผลกระทบน้อยกว่าสายการบินที่ใช้เครื่องบินขนาดเล็ก ดังนั้นจึงเชื่อว่าการปรับขึ้นราคาต้องไม่เท่ากันทุกสายการบินเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้นส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.50 บาทต่อน้ำมัน 1 ลิตร โดยอิงจากราคาน้ำมันเครื่องบินในช่วงเดือนมกราคมอยู่ที่ 20 บาทต่อลิตร จากนั้นปรับขึ้นมาเป็น 26-33 ต่อลิตรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ กพท มีเพดานกำหนดราคาค่าโดยสารในอัตราสูงสุดที่ 13 บาทต่อกิโลเมตร อาทิ ถ้าบินระยะ 500 กิโลเมตรผู้ประกอบการจะเก็บค่าโดยสารได้มากสุดที่ 6,500 บาท

การกำหนดราคาค่าโดยสารกำกับแค่ราคาสูงสุดปัจจุบัน เครื่องบินเกิน 300 เมตรอัตราสูงสุด 13 บาทต่อกิโล ถ้าบิน 500 กิโลเมตรก็เก็บได้เยอะสุด 6,500 บาทการขึ้นค่าสรรพสารมิตรต้นทุนเพิ่มแน่ ค่าน้ำมันมีภษีท้องถิ่นด้วยอีกก้อนนึง รวมกับค่าภาษีด้วยกลายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น 6 บาท จากมกราคมราคาเดิมต่อลิตรอยู่ไม่เกิน 20 บาทแต่ต้นกุมพาเพิ่มเป็น 26-33 บาท เฉลี่ยต้นทุนเพิ่ม 6.50 บาท จากที่แต่ละสายการบินเพิ่มขึ้น 150 บาทอาจไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเท่าไหร่เพราะแต่ละสายใช้เครื่องบินที่แตกต่างกันทำให้ต้นทุนแต่ละรายแตกต่างกัน ดังนั้นทุกสายไม่น่เก็บเท่ากัน หมด 150 จึงสั่งให้ไปทบทวนมาดูอีกทีหนึ่ง

“บางสายการบินยอมรับว่าต้นทุนเกิน 150 ส่วนบางสายการบินออกมายอมรับว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ถึง 150 โดยเฉพาะสายการบินที่ใข้เครื่องบินใหญุจุคนได้เกิน 200 คน อยากให้การขึ้นราคาสะท้อนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริงไม่ใช่อาศัยสถานการณ์มาทำกำไรให้กับบริษัท อีกทั้งการขึ้นราคาภึง 150 บาทดูจะไม่ยุติธรรมต่อภาพรวมเท่าไหร่นัก เอาจริงๆต้องปรับทางระยะทางที่บินด้วย เช่น ไปเชียงใหม่คนละราคากับหาดใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องบินและระยะทาง” นายจุฬา กล่าว