posttoday

กะเทาะแก่นวิถี "เกาหลีเหนือ" ไม่อ่อนข้อสหรัฐเพราะถูกกระทำ

07 กันยายน 2560

เกาหลีเหนือต้องการคุยกับสหรัฐไม่ใช่ประเทศอื่น เกาหลีเหนือจึงหาพื้นที่ยืนให้ตัวเองมากที่สุดเท่าที่ทำได้

โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์

ศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาวิชาการ “เจาะลึกเกาหลีเหนือ : กิจการภายในและการต่างประเทศ” ณ ห้องสัมมนากลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ดำรง ฐานดี ผู้อำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สะท้อนมุมมองความคิดของเกาหลีเหลือว่า 1. จีน เกาหลีเหนือ ยึดถือลัทธิคอมมิวนิสต์พัฒนาประเทศ แต่ยุค เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดของจีน ได้เปลี่ยนมาใช้คอมมิวนิสต์ในแบบจีน ต่างจากเกาหลีเหนือใช้คอมมิวนิสต์แท้บริหารประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางคอมมิวนิสต์โลก จึงเกิดลัทธิจูเช คือ ปิดประเทศ ไม่เอาทุนนิยม เข้ามาใช้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ภาพการพัฒนาอาวุธ โดยตามแนวความคิดคนเกาหลีเหนือ เริ่มปี 1993 ซึ่งมีการจับภาพที่เริ่มก่อตั้งโรงงานปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้า แต่สหรัฐอยากให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์ จึงอยากให้เกาหลียุติโดยให้ใช้พลังงานน้ำ และจะสร้างให้สองโรง ด้วยการรวบเงินจากประเทศต่างๆ แต่พอสร้างไปได้ 60-70% สภาครองเกรสกับยกเลิก เพราะเกิดการเปลี่ยนรัฐบาล เกาหลีเกิดความเจ็บช้ำ จึงไม่ขอพึ่งและไม่อยากฟังใคร

อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นอย่างนั้น จึงมีการพัฒนาขีปนาวุธ ยิงทดลองข้ามหลายประเทศ และทำให้นานาชาติจึงคิดถึงความไม่ปลอดภัย แต่สหรัฐต้องการคุย จึงเกิดการประชุม 6 ฝ่าย โดยมีจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ร่วมด้วย เพื่อให้เกาหลีเหนือหยุดทดลองขีปนาวุธ แต่ก็ยังทดลองต่อไป จนการประชุมครั้งที่ 5

“แต่เกาหลีเหนือต้องการคุยกับสหรัฐไม่ใช่ประเทศอื่น เกาหลีเหนือจึงหาพื้นที่ยืนให้ตัวเองมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อยืนในเวทีโลก ซึ่งประเทศใหญ่ๆมีการทดลองอาวุธและขาย แต่กับห้ามเกาหลีเหนือ เพื่อแสดงให้ฝรั่งเห็นว่าสามารถผลิตอาวุธขายได้ และพัฒนาอาวุธ และเป็นการทำเพื่อชาติ ไม่ได้รุกราน แต่สหรัฐเดือดร้อน ไม่ยอมเจรจา ดังนั้น ซึ่งเกาหลีเหนือ ผู้นำคิดว่าตัวเองไม่มีที่ยืนในสมาคมนานาชาติ จึงไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อศัตรู”

ทั้งนี้ ถามว่าสงครามโลกครั้งที่สามจะเกิดไหม ขึ้นอยู่กับผู้นำสองฝ่าย หากถามว่าสหรัฐมีสิทธิทำสงครามได้ไหม คำตอบส่วนตัวค่อนข้างยาก เพราะคนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ไม่อยากให้เกิดสงครามบนคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงญี่ปุ่นก็ไม่อยากทำสงคราม ขณะที่ สหรัฐไม่ได้รับการสนับสนุนจากยุโรปในเรื่องนี้ จึงหันมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บีบให้ 10 ประเทศ ร่วมด้วย แต่ไทยไม่ได้เป็นศัตรูเกาหลีเหนือ และไม่ได้เดือดร้อน

“สิ่งที่เห็นชัดเจนถึงความตั้งใจปณิธานคนเกาหลีเหนือให้กลายเป็นมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ เมื่อก่อนมีแต่เสียงหัว แต่วันนี้คำตอบใช่ มีศักยภาพจริง จะทำโลกเดือดร้อนหรือไม่ แต่เกาหลีเหนือมองสหรัฐมีนโยบายกร้าวมาตลอดเวลา ผมอยากจะบอกว่าโอกาสเกิดสงคราม ถ้าสองคนหากกดปุ่มนิวเคลียร์ ต้องมีเหตุและผลพอสมควร ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันทำอย่างไร”

ส่วนตัวมองว่ามันจะเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เกาหลีเหนือมีอิทธิพลนิวเคลียร์มากขึ้น แต่คนเดือดร้อน คือ สหรัฐ และญี่ปุ่น แต่แนวคิด สหรัฐ ญี่ปุ่น ไม่ยอมเจรจากับประเทศเล็กๆ ให้สถานภาพเส้นเดียวกันจึงต้องกดไว้ แต่จีนไม่อยากให้เกาหลีเหนือล่ม เพราะคนจะทะลักเข้าไป

“แม้จีนจะเห็นด้วยกับมติยูเอ็นเอสซี แต่เป็นเชิงสัญลักษณ์ เพราะประธานาธิบดีจีนบอกใครโจมเกาหลีเหนือจะวางเฉยไม่ได้ แต่ถ้าเกาหลีเหลือโจมตีใคร จีนจะวางเฉย หมายความว่า 100% อยู่ข้างเกาหลีเหนือ หากสหรัฐจะหยุดนิวเคลียร์เกาหลีเหนือด้วยการแทรกแซงจีน ไม่สำเร็จ เพราะเกาหลีเหนือมีโรดแมปอื่น เช่น เอาเงินจากรัสเซีย หรือตะวันออกกลาง มาทำก็ได้”

กะเทาะแก่นวิถี "เกาหลีเหนือ" ไม่อ่อนข้อสหรัฐเพราะถูกกระทำ

ขณะที่ กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ ผู้อำนวยการโครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายมุมมองว่า  ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นรัสเซียโดยเฉพาะ วลาดีเมียร์ ปูติน ผู้นำ ตอบโต้ประเด็นเกาหลีเหนือในลักษณะให้เกิดการเจรจา พร้อมระวังในการแสดงท่าที่ความคิดเห็น ต่างจากกรณี ซีเรีย ตะวันออกกลาง ที่รัสเซียดำเนินการการต่างประเทศด้วยการใช้ความแข็งกร้าวต่อทุกสถานการณ์

ทั้งนี้ แม้การดำเนินการนโยบายต่างประเทศจะคล้ายกับทุกประเทศทั่วโลก คือ รักษาผลประโยชน์ชาติ แต่รัสเซียกลับมีน้ำหนักเบา ซึ่งต้องมองความสัมพันธ์สองประเทศ  เพราะในทางประวัติศาสตร์มีจุดเชื่อมโยงกัน คือ ความเชื่อ สมัยรัสเซียยังเป็นสหภาพโซ เวียตใช้ระบบสังคมนิยม ตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม จนหลายหลายประเทศนิยมไปใช้ ทั้ง ลาติน เกาหลีเหนือ และจีน

อย่างไรก็ดี ในเรื่องสังคมนิยม เครื่องมือที่ดีเพื่อดึงศรัทธาคนในชาติ เพราะสหภาพโซเวีนต เปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังปี 1917 ก่อตั้งสหภาพโซเวียต มีการวางโครงสร้างทางสังคมใหม่ จึงใช้ จิตวิทยาการเมือง คือ ลัทธิบูชาตัวบุคคล โดยเริ่มจาก โจเซฟ สตาลิน อดีตผู้นำสหภาพโซเวียต พยายามทำให้ผู้นำของรัฐเหนือมนุษย์

"ผลต่อการรวบรวมศรัทธาจากความแตกต่างของประชาชนได้ผลเมื่อ วลาดีมีร์ เลนิน เสียชีวิต ทำให้ประชาชนคิดว่าไม่หายไปไหนอยู่ในจัตุรัสแดง มีการดองศพไว้ กลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมารลอด จนเป็นวิถีประเพณีอยู่ในสายเลือดคนรัสเซีย ลัทธิบูชาตัวบุคคล ส่งออกไปยังเกาหลีเหลือได้อย่างไร เพราะคิดว่าสังคมนิยมน่าตอบโจทย์ เพื่อสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ เมื่อเชื่อมโยงลัทธิบูชานี้ จึงทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันและกัน โดยผู้นำคนแรก อย่าง คิม อิล ซ็อง"

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัสเซียใช้ระบบสังคมนิยม ใช้ทุนนิยมแบบประชาธิปไตย แต่ยังมีอัตลักษณ์ส่วนตัว โดยไม่เอามาตรฐานอื่นมาตีค่า ปัจจุบัน ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ปูติน ให้ความช่วยเหลือพันธมิตร เพราะในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ ถือว่าเกาหลีเหนือเป็นรัฐกันชน ซึ่งตรงกับแง่นโยบายการต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ในช่วงสหภาพโซเวียตล่มสลาย ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากยุโรป ทำให้การดำเนินนโยบายของรัสเซีย เมื่อทบทวนมีความผูกพันกับวิถีตะวันออก และยังมีความผูกพันทางประวัติศาสตร์การเมืองคงอยู่ และการมองปัญหาเกาหลีเหลือ รัสเซียใช้ความเข้าใจ เพราะมีจุดยืนร่วมกันที่ถูกกระทำจากประเทศอื่นขณะที่ตัวเองตกต่ำ

ด้าน เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ผู้สื่อข่าว และคอลัมน์นิสต์อาวุโส กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้มีการพุ่งเป้าไปยังคาบสมุทรเกาหลี แต่วิกฤติที่เกิดขึ้นนั้น ก่อให้เกิดหลายคำถาม 1.ทำไมเกาหลีเหนือพยายามเป็นมหาอำนาจในเรื่องของนิวเคลียร์ 2. แล้ววิกฤติที่เป็นอยู่จะไปถึงไหน 3. ทำไมเกาหลีเหนือกล้ากร้าวประกาศโจมตีเกาะกวม 4. หากเกิดเหตุจริงจะมีผลต่อสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีร้ายแรงขนาดไหน และจะมีผลต่ออาเซียนอย่างไร รวมถึงอาเซียนจะตอบสนองอย่างไร และ 5.หากวิกฤติยังเป็นอยู่แล้วเข้มข้นทุกวัน สหรัฐจะมีทางเลือกอะไรตอบสนองอย่างไร

“ยิ่งวันเกาหลีเหนือประกาศผลิตเอชบอมบ์ขึ้นมา ยิ่งเป็นตัวกำหนดสถานการณ์หลายอย่าง ทว่า ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำทั้งสองฝ่าย และเรื่องนี้ทำให้ย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองในการทิ้งระเบิด ฮิโรชิม่า และนางาซากิ โดยมี 5 ประเทศมหาอำนาจ ถืออาวุธนิวเคลียร์ยุคที่หนึ่ง เช่น สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน”

ทั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นความคิดเรื่องอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงในแง่สร้างความมั่นคงของแต่ละประเทศ แต่ 5 ประเทศมหาอำนาจมองเห็นความเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นหากใช้อาวุธเหล่านี้ทำลายล้าง จึงเกิดสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons ทั่วไปเรียก Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) ในปี 1968

ทว่า มีบางประเทศไม่ได้ให้สัตบรรณกับสนธิสัญญานี้ และหลายประเทศไม่ยอมรับหรือร่วมลงนาม โดยเฉพาะ อินเดีย และปากีสถาน ซึ่งความพยายามเกาหลีเหนือที่จะเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์เกิดขึ้นในปี 1980  โดยสหรัฐเริ่มเห็นเกาหลีเหนือไม่ยอมอยู่ในสนธิสัญญา จึงได้ทำความตกลงเกาหลีเหนือหยุดเรื่องดังกล่าว

“ปี1994 เกาหลีเหนือแหกคอก ดำเนินการพัฒนามาโดยตลอด ชี้ให้เห็นว่าท้ายที่สุด มีความพยายามหลายครั้งแต่ล้มเหลวสิ้นเชิง และวิกฤติซ้ำราย เมื่อวันที่ 4 ก.ค. เกาหลีเหนือ ได้แสดงศักยภาพยิงจรวดข้ามทวีป พร้อมข่มขู่ว่าสามารถยิงได้ไกลถึง 6,000 กิโลเมตร คือ ยิงถึงสหรัฐและการประกาศที่จะยิงจรวดไปเกาะกวม ปรากฏการณ์แสดงให้เห็นว่าการเจรจาล้มเหลว ในการยุติโครงการนิวเคลียร์ รวมถึงความพยายามลงโทษในรูปแบบต่างๆ ก็สิ้นเชิง สภาพการณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะไม่ใช่เผชิญหน้าท้าทาย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แต่สหรัฐมองเป็นการคุกคามตรงต่อสหรัฐ”

ส่วนวิกฤติจะนานแค่ไหน มันมีเพิ่มสูงขึ้น และเห็นชัดจากการซ้อมรบระหว่าง สหรัฐ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อแสดงศักยภาพตอบโต้หากเกิดการโจมตี รวมถึงจรวดป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐที่ตั้งในเกาหลีใต้ ถามว่าสหรัฐเลือกทำอะไรได้บ้าง เจรจา แทรกแซงไม่เป็นผล ให้เกาหลีเหนือยุติโครงการ ทางเลือกในการเจรจาจึงน้อยมาก

ทั้งนี้ ทางเลือกต่อมาสหรัฐอาจใช้วิธีลุยก่อนคุย แต่ตัวเลือกนี้ลดน้อยลงไป แต่ตัวเลือกถัดมา อุบัติเหตุ คือ อยู่ที่การตัดสินใจของผู้นำสองฝ่าย เพราะแหกคอกกันไปหมด หรือสุดท้ายอาจเป็นลุยไปคุยไป แต่ต้องอยู่ภายในวงจำกัด ซึ่งหลายประเทศเตรียมตัวรับสถานการณ์ หรือสุดท้าย ยอมให้เกาหลีเหนือมีนิวเคลียร์ต่อไป ซึ่งขัดต่อสัญญา 1968 แต่ต้องมีภายใต้เงื่อนไข

กะเทาะแก่นวิถี "เกาหลีเหนือ" ไม่อ่อนข้อสหรัฐเพราะถูกกระทำ

ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปี 1994-1995 ขณะนั้น เป็นโอกาสที่เกาหลีเหนือจะเปิดประเทศ โดยมีการจัดตั้งความร่วมมือระดับภูมิภาค ซึ่งเลียนแบบกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง และมีการชักชวนหลายประเทศเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของเกาหลีเหนือ คือ ลาซอง

ทั้งนี้ ไทยเข้าลงทุนก็เป็นไปด้วยดี ทำให้รู้สึกได้ว่าเกาหลีเหนือไม่ใช่ประเทศยากจน มีความอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะเรื่องอาหารทะเล แต่มีปัญหาเรื่องระบบไปไม่ถึง การคมนาคมแย่มาก และไทยเข้าไปลงทุนในเรื่องโทรคมนาคม โดยมีฝ่ายรัฐบาลเกาหลีเหนือเข้ามาร่วมทุน 30%

อย่างไรก็ดี แต่เมื่อดำเนินการได้ 2 ปี เกาหลีเหนือมีการขอให้เปลี่ยน โดยมีบริษัทของอียิปต์มาขอสัมปทานเข้าทำแทนไทย และให้ไทยทำเรื่องอินเตอร์เน็ตแทน ซึ่งได้ได้ใช้เงินทุนลงไป 20 กว่าล้านเหรียญ  จนเกิดปัญหาเรื่องการแทรกแซง จึงได้ขายหุ้นให้กับบริษัทของฮ่องกง

“อยากชี้ให้เห็น 10 กว่าปีที่ผ่านมา เกาหลีเหนือจะกลับเข้ามาเวทีโลกได้อีก สมัยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สมัยรัฐบาลคลินตัน ได้มีการเจรจาปูทาง แต่เมื่อ อัล กอร์ แพ้การเลือกตั้งให้กับ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ทำให้เรื่องราวในคาบสมุทรเกาหลีเปลี่ยนไป ทว่า ในช่วงที่ผมไปอยู่ ก็ไม่ได้มีความน่ากลัวว่าใครจะมาเดินตาม

อย่างไรก็ดี ในปี 2010 เกาหลีเหนือเริ่มเปิดประเทศ มีร้านขายนาฬิกายี่ห้อต่างๆใกล้กับตามโรงแรมที่พัก แต่ล่าสุดได้ปิดไปหมดแล้ว ดังนั้น มันจะมีขึ้นๆ ลงๆ เกาหลีเหนือมีนโยบายจะเปิดสมัย คิม จอง อึน แต่มีความกลัว จึงค่อยๆปิดประเทศ และสมัยบุช มีนโยบายแข็งกร้าว ทำให้เกาหลีเหนือลดสัมพันธ์ลงในเรื่องดังกล่าว”

ภาพ...เอเอฟพี